การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

63 สำเร็จมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการจัดการขยะที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้น ทางจนถึงในทะเลได้ดีมีการกำหนดแผนบริหารจัดการของเสียต้นทาง เพื่อไม่ให้เกิดขยะลงสู่ในทะเล และให้เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน สร้างความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมในการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จด้านการจัดการขยะในทะเล เมื่อพิจารณาถึงพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ ไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2566 เกี่ยวกับคำนิยาม ว่าด้วยการทิ้งขยะในทะเล พบว่ายังมีการให้ความหมาย ที่ไม่ครอบคลุมถึงขยะในทะเล ผู้วิจัยจึงเห็นควรขยายคำนิยามศัพท์ คำว่าขยะในทะเล ในมาตรา 120/2 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป เมื่อศึกษากฎหมายของประ เทศ ไทย พระราชบัญญัติที่ออกมา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการการจัดการขยะ ล้วนแต่เป็นเชิงนโยบายมากกว่ากฎหมายบังคับ ส่งผลให้การก่อเหตุและ การทิ้งขยะลงทะเลพบเห็นได้ง่ายจากแหล่งข่าวและชุมชนที่พบปริมาณขยะทะเลพัดกลับเข้ามาสู่ ชายฝั่งของตนอยู่เสมอๆ เมื่อเกิดมรสุม อุบัติเหตุจาการเดินเรือ การลักบอบทิ้งขยะในทะเล ส่งผลให้ เกิดมลพิษที่เกิดจากขยะในทะเลที่พัดกลับเข้ามาสู่ชายฝั่งของประเทศไทย พบว่าแม้กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งจะทราบผลกระทบของขยะทะเล อาทิเช่น บดบังความสวยงามของพื้นที่การ ท่องเที่ยวก่อให้เกิดมลพิษต่อสัตว์น้ำ มนุษย์ อย่างไรก็ตามซึ่งมีการจัดทำแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งขยะในทะเลเป็นพิษสะสมในสิ่งแวดล้อม ทำลายระบบนิเวศทางทะเล เมื่อพิจารณาการดำเนินการของประเทศไทยที่ผ่านมาเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เน้นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึก ซึ่งเป็นวิธีการที่เห็นผลช้า และอาจไม่สามารถบรรลุผลได้ในพื้นที่ขนาด ใหญ่ จะเห็นว่าโครงการนำร่องต่างๆ ที่ภาครัฐหรือเอกชนเข้าไปร่วมดำเนินการพื้นที่นำร่อง พื้นที่ขนาดเล็ก และดำเนินการในระยะสั้น มักได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และหากยังขาดการประเมินผล ระยะยาวว่าท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืนหรือไม่จะเห็นได้ว่าในสถานการณ์ ปัจจุบันนั้นการดำเนินการด้านการจัดการขยะทะเล มีทั้งขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยว การทำประมง ภาคอุตสาหกรรม การเดินเรือพาณิชย์ รวมถึงการทิ้งขยะลงทะเลโดยผิดกฎหมาย โดยแหล่งที่มา ของขยะทะเลส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมบนฝั่ง เช่น ชุมชน แหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง บริเวณท่าเรือ และการ ท่องเที่ยวชายหาด และจากกิจกรรมในทะเล เช่น เรือพาณิชย์ เรือนำเที่ยว เรือประมง เรือโดยสาร สาธารณะ เรือส่วนบุคคล แท่นขุดเจาะก๊าซ และน้ำมันกลางทะเล กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดการนั้นไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในเชิงพื้นที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ผู้วิจัย เห็นควรปรับแนวคิดว่าขยะทะ เล นั้น เป็น เรื่องของทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นภ าครัฐ เอกชน ประชาชน รวมไปถึงภาควิชาการที่ต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3