การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 4 ผลการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายเกี่ยวกับการ ธำรงวินัยของการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการธำรงวินัยของการ ฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ และเพื่อศึกษา รูปแบบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมทาง กฎหมายเกี่ยวกับการธำรงวินัยของการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 9 คำตอบดังกล่าวนี้ย่อมมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัยที่ กำหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจึงได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งผลการวิจัยจะประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และ การวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่ง ได้ผลของการวิจัยต่อไปนี้ 4.1 หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการธำรงวินัย หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ เนื่องด้วยหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจไม่ว่ารูปแบบใดดังที่กล่าวมา ภารกิจ ปรัชญาการศึกษา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ได้กำหนดให้การฝึกอบรมผลิตบุคคลในระดับชั้นประทวน(นักเรียนนาย สิบตำรวจจบการฝึกอบรมได้รับการบรรจุแต่งตั้งยศสิบตำรวจตรี) เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติการ ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมต่างๆในพื้นที่ที่ลงบรรจุแต่งตั้ง และตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักเรียนนายสิบตำรวจมีความรู้พื้นฐานของ การปฏิบัติงานในหน้าที่ของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถจน เกิดเป็นทักษะในงานปฏิบัติการป้องกันปราบปราม วิสัยทัศน์และหล่อหลอมจิตใจ อุปนิสัยและ บุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการตํารวจที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของประชาชน ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะ มีจิตสํานึกในการบริการและบําบัด ทุกข์บํารุงสุขแก่ประชาชน รวมทั้งปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสูตรนักเรียน นายสิบตำรวจ ข้อ 1 ถึง 3 ศูนย์ฝึกอบรมจึงมีหน้าที่ในการผลิตบุคลากรเพื่อให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ของ หลักสูตรซึ่งลักษณะของการทำงานของตรวจนั้นเป็นลักษณะมีความเป็นเฉพาะพิเศษซึ่งเมื่อออกไปปฏิบัติ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญ หรือประชาชน รักษาความมั่นคงภายในราชอาญาจักร สืบสวนสอบสวนคดีอาญา เป็นต้น ตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจภูธร บางสถานการณ์หย่อมมีความกดดันทั้ง ทางด้านร่างกาย และจิตใจ ทั้งผู้ที่กระทำผิดกฎหมายที่เป็นอาชญากรซึ่งอาจจะต้องเสี่ยงกับการก่อให้เกิดความ เสียหายต่อเสียชีวิต ร่างกายได้ หรือความกดดันจากประชาชน เช่น การชุมนุมประท้วงที่มีสถานการณ์ที่รุนแรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3