การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
93 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าระงับเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปอยู่ ในสภาวะปกติจากผู้ก่อความรุนแรง และใน ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป หรือผู้ชุมนุมประท้วงที่ชุมนุมด้วยความสงบ การ ทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะชั้นประทวนจึงต้องทำงานในมิติที่มีหลากหลาย เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน รวมทั้งมีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา ต้องทำตามคำสั่งโดยชอบได้ทุกสถานการณ์ทั้งเต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ตาม ดังนั้นสภาพร่างกาย และจิตใจจะต้องพร้อมรองรับให้ได้ การฝึกก็ต้องอิงจากสถานการณ์ที่ นักเรียนนายสิบตำรวจอาจจะต้องเจอในความเป็นจริง ศูนย์ฝึกอบรมฯโดยมีฝ่ายปกครองและการฝึกมีหน้าที่ใน การปกครอง ควบคุม ดูแลระเบียบวินัยของนักเรียนนายสิบตำรวจในแต่ละวันให้เป็นไปตาม รปจ. และตาม ระเบียบวินัยที่ศูนย์ฝึกได้วางเอาไว้ รวมไปถึงหน้าที่ในการฝึกในวิชาที่เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการ ฝึกท่าบุคคลมือเปล่า บุคคลประกอบอาวุธ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานของตำรวจ รวมไปถึงวิชายุทธวิธีต่างๆ เช่น การจับกุม ตรวจค้น ต่อสู้ ใช้อุปกรณ์ อาวุธ หรือ ปืน ในการปฏิบัติหน้าที่ จึงได้ให้อำนาจผู้ฝึก หรือที่ เรียกว่าครูฝึกเป็นผู้ให้การฝึกทางด้าน ร่างกาย และจิตใจ ของนักเรียนนายสิบตำรวจดังกล่าว ซึ่งบางครั้ง รายละเอียดปัจเจก แยกย่อย ของการฝึกจะมีความละเอียด มากมาย แตกแยกออกไปอีก ซึ่งเป็นศาสตร์และ ศิลป์ของแขนงวิชาทางด้านทหาร ตำรวจ ที่อาจจะต้องนำประสบการณ์ของครูฝึกมาถ่ายทอด หรือรายละเอียด ที่ไม่ได้กำหนดในหลักสูตรโดยตรงมาใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องมือในการฝึกที่สำคัญที่สุดของระบบ ทหาร ตำรวจ คือ วินัย เพราะหากตำรวจไม่มีวินัยการทำงานก็ไม่สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ต่างคนต่างคิด ต่างทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเดียวกันไม่เชื่อฟังคำสั่งก็จะเป็นอุปสรรคในการทำงานที่มีความเฉพาะพิเศษนี้ได้ ดังนั้น การธำรงวินัยนั้น คือการรักษา หรือดำรงไว้ซึ่งระเบียบวินัย ทำให้วินัยนั้นกลับมาดีเหมือนเดิม โดยเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจกระทำผิดวินัยจะมีการลงโทษ ปรับปรุง หรือซ่อมวินัย โดยการให้ กระทำการฝึกพิเศษนอกเหนือจากการฝึกหัดปกติ หรือให้ออกกำลังกายในท่าทางต่างๆตามคำสั่ง เพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจสำนึกว่าตนได้กระทำผิด และยอมรับในการกระทำผิดนั้น ซึ่งการธำรง วินัยมีความจำเป็นในการฝึกตำรวจและมีประโยชน์ในการฝึกอบรมดังนี้ 4.1.1 การรักษาระเบียบวินัย พบว่าเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจเข้ามาฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมซึ่งการฝึกอบรมนั้น นักเรียนนายสิบตำรวจจะต้องอยู่ในศูนย์ฝึกอบรมตลอดระยะเวลาจนจบหลักสูตรนักเรียนนายสิบ ตำรวจต้องใช้ชีวิตในศูนย์ฝึกอบรมตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การกินการอยู่ การเรียนทั้งภาควิชาการ ภาคปฏิบัติ จะใช้ชีวิตร่วมกันโดยแยกเป็นกองร้อยกองร้อยละประมาณ 100 คน ตลอด 24 ชั่งโมง ดังนั้นการใช้ชีวิตจึงแตกต่างกับตอนที่ยังเป็นพลเรือนโดยสิ้นเชิง ทุกคนต้องปฏิบัติตนในแต่ละวันต้อง เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ตั้งแต่เข้านอนจนตื่นนอน อาหารที่รับประทาน การออกกำลัง การแต่งกาย เสื้อผ้า ชุดเรียน ทุกคนจะเหมือนนั้น ทุกการปฏิบัติมีช่วงเวลาเข้ามากำหนด เวลากิน เวลานอนตื่น นอน เวลาเรียน แม้แต่เวลาทำภารกิจส่วนตัว อาบน้ำ แปรงฟัน เข้าห้องน้ำฯลฯ (รปจ.) เป็นอำนาจใน การควบคุมมนุษย์โดยที่ไม่รู้ตัวโดยมีกรรมวิธี ดังนี้ถ้านอกเหนือเวลาที่กำหนดจะไม่ได้รับอนุญาตให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3