การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

95 การยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนอีก หากนักเรียนนายสิบตำรวจปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ที่ วางไว้การฝึกในแต่ละภาควิชาก็จะส่งผลออกมาอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของการฝึก ดังนั้นการลงโทษเมื่อมีการฝ่าฝืนจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะรักษาระเบียบวินัย ซึ่งระเบียบ และข้อบังคับต่างๆเป็นข้อบังคับเพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการฝึก หากผู้ใดฝ่าฝืนก็ต้องมีการลงโทษ ซี่งการลงโทษดังกล่าว ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อบังคับ ควบคุมพฤติกรรม และก่อให้เกิดระเบียบแบบแผน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ฝึกอบรมฯ จนกว่านักเรียนนายสิบตำรวจมีพฤติกรรมและทัศนคติ คล้อยตามระเบียบที่กำหนดจนเป็นอัตวินัยและมีความสมัครใจในการที่จะปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง ของครูฝึก ผู้บังคับบัญชา ซึ่งถือได้ว่านักเรียนนายสิบตำรวจนั้นมีวินัยที่ดี จะเห็นได้ว่าจาก ความหมายของคําว่าวินัยที่กล่าวมาแล้ว พอจะสรุปได้ว่าวินัย หมายถึง ระเบียบ แบบ แผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกในการควบคุมตนเอง ยอมรับหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่กําหนดไว้ โดยมาตรการการลงโทษมีความสำคัญมากใน การรักษาระเบียบวินัยซึ่งวินัยขององค์กรตำรวจนั้นอาจจะมีรายละเอียดที่พิเศษไปจากข้าราชการอื่น เช่น ตํารวจผู้มียศน้อยกว่าจะต้องทําความเคารพผู้มียศสูงกว่าหากไม่ทําถือว่าเป็นความผิดวินัย ส่วน ข้าราชการพลเรือนบังคับบัญชากันตามตําแหน่ง ฟังคําสั่งกันตามสายการบังคับบัญชาและไม่ถือว่าการ ทําความเคารพเป็นวินัย คนที่ไม่ทําความเคารพผู้บังคับบัญชาจึงไม่ผิดวินัย เป็นต้น เรื่องของวินัย ตำรวจจึงมีรายละเอียดที่มากมายกว่าข้าราชการอื่น การธำรงวินัย เป็นการลงโทษจะใช้เมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ของศูนย์ฝึกฯซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาระเบียบวินัยโดยการใช้อำนาจ ในอีกรูปแบบหนึ่งโดยผ่านชุดองค์ความรู้ประเภทหนึ่ง โดยถ่ายทอดผ่านวาทกรรม มาเพื่อทำให้ นักเรียนนายสิบตำรวจเพื่อให้เกิดความ “กลัว”จากการถูกลงโทษ โดยการให้กระทำการฝึกพิเศษ นอกเหนือจากการฝึกหัดปกติ เช่น ออกคำสั่งให้ออกกำลังกายในท่าทา งต่างๆตามคำสั่งของครู ปกครอง จนกว่าครูปกครองจะพอใจ เช่น ท่าดันพื้น ท่าพุ่งเท้าหลัง ท่ากรรเชียงบก เป็นจำนวน 100 ครั้ง 1000 ครั้ง หรือสั่งให้วิ่งรอบสนามฟุตบอล 10 – 40 รอบ บางครั้งต้องออกกำลังกายทั้งวันทั้งคืน มีเวลาให้พักแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ต้องธำรงวินัยต่อ บางครั้งให้ใส่ชุดเครื่องแบบสนามโดยมีหมวกเหล็ก ใส่ เสื่อเกราะโดยมีแผ่นเกราะ และให้อุปกรณ์เครื่องสนามติดตัว อาจจะมีปืนยาว (ปลย.88) โดยให้ นักเรียนนายสิบตำรวจแต่งกายแบบนี้ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มภาระจากน้ำหนักของอุปกรณ์ต่างๆซึ่งมี น้ำหนักหลายกิโล ไม่ว่าจะวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า-เย็น ตอนรับประทานอาหาร หรือนอน ฯลฯ ซึ่ง ในขณะเดียวกันนักเรียนนายสิบตำรวจคนอื่นใส่ชุดกีฬาหรือชุดนอนปกติ เป็นต้น การลงโทษไม่ กำหนดเวลาจะอาศัยเวลาที่ไม่มีการเรียนการสอนในคาบเรียนภาคทฤษฎี (คาบเรียนภาคทฤษฎีอยู่ ระหว่างเวลา 08.30 – 12.00 น และ 13.00 น – 15.00 น ทุกวันจันทร์ - ศุกร์) ดังนั้ นเวลา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3