การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

96 นอกเหนือจากนี้มีการธำรงวินัยได้ทุกเวลา การธำรงวินัยนั้นเพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจสำนึกว่าตน ได้กระทำผิด และยอมรับในการกระทำผิดนั้น โดยอาจจะใช้วิธีการลงโทษแบบกลุ่ม หมายถึงคนใดคน หนึ่งกระทำผิดนักเรียนนายสิบตำรวจคนอื่นที่ไม่กระทำผิดก็ต้องถูกลงโทษด้วยกันเป็นกุศโลบาย เพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจช่วยรักษาวินัยซึ่งกันและกัน โดยการตักเตือนกันและผู้ที่กระทำผิดจะก็ สำนึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เพื่อนคนอื่นๆเดือนร้อนหรือที่เรียกว่าการปกครองกันเอง ส่วนการ ลงโทษเฉพาะบุคคลในกรณีที่กระทำผิดหลายครั้งซ้ำซ้อนกรณีแบบนี้จะโดนลงโทษหนักกว่าปกติ ถ้ามี การกระทำผิดอีกก็จะมีการธำรงวินัยอีกจนกว่าวินัยจะดี ซึ่งการธำรงวินัยดังกล่าวจะสร้างความรำคาญ และเหนื่อยล้าให้กับนักเรียนนายสิบตำรวจเป็นอย่างมากเพราะนอกเหนือจากเวลาเรียนในชั้นเรียน หรือต้องปฏิบัติเป็นราชการประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร วิ่ งออกกำลังกายเช้า -บ่าย แล้ว นักเรียนจะมีเวลาส่วนตัวไม่กี่ชั่วโมงในการพักผ่อนในแต่ละวันหากมีการธำรงวินัยหมายถึงเวลาที่ นักเรียนนายสิบตำรวจจะได้พักผ่อนกลับเอาไปใช้ในการธำรงวินัยรวมไปถึงเวลานอนด้วย เพื่อไม่ให้มี การธำรงวินัยเกิดขึ้นนักเรียนนายสิบตำรวจจึงต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและตักเตือนตัวเอง และ นักเรียนนายสิบตำรวจเพื่อนคนอื่นให้อยู่ในกฎ ระเบียบตลอดเวลา การธำรงวินัยดังกล่าวนอกจากเป็น การลงโทษแล้ว ยังทำให้การปกครองนักเรียนนายสิบตำรวจนั้นง่ายขึ้นเพราะการที่นักเรียนนายสิบ ตำรวจมีระเบียบวินัย นักเรียนนายสิบตำรวจจะให้ความสำคัญกับคำสั่งของครูปกครองโดยอัตโนมัติ ด้วย และกระตือรือร้นต่อคำสั่งอยู่ตลอดเวลา การลงโทษโดยการธำรงวินัยดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจในการปกครองรูปแบบหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการปกครองชีวญาณ การธำรงวินัยนั้นเป็นการกระทำที่ใช้อำนาจอย่างหนึ่งเพื่อมาบังคับ ให้นักเรียนนายสิบตำรวจปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนอย่างเคร่งครัดซึ่งการบริหารเวลาดังกล่าว เป็นขั้น เป็นตอน เมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือการมีระเบียบวินัยเป็นกระบวนการ ฝึกฝนเพื่อให้แทรกซึมเข้าไปในร่างกายจนรู้ระบบของการอยู่ในสถานฝึกอบรมทำให้ร่างกายเกิดความ เคยชินเกิดเป็นบรรทัดฐานดังกล่าวจนรู้สึกว่าเป็นภาวะปกติของร่างกาย ซึ่งหลักการการใช้อำนาจ ดังกล่าวนั้นนำมาใช้กำหนดรายละเอียดในกิจกรรมของมนุษย์ให้เกิดบรรทัดฐานเดียวกัน เช่น ใน โรงเรียน โรงงาน ค่ายทหาร เป็นต้น การใช้อำนาจในการธำรงวินัยเพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจ ปฏิบัติตามนั้นหากมองในมุมมองหนึ่งจะเห็นว่าเป็นการใช้อำนาจครอบงำบุคคลเพื่อกดขี่ข่มเหงรังแก แต่หากมองอีกมุมหนึ่งก็อาจจะเป็นด้านบวกว่าด้วยการสร้างสรรค์เป็นอำนาจที่ได้รับการขัดเกลาตก ผลึกในรูปแบบของความรู้ เพราะจะให้นักเรียนนายสิบตำรวจที่เคยชินกับความสบายตอนเป็นพล เรือนให้มาอยู่ในระเบียบวินัยเดียวกันจะใช้วิธีการยินยอมสมัครใจหย่อมเป็นไปได้ยากเลยต้องมีลงโทษ แต่การใช้อำนาจนั้นต้องมีเจตนาที่จะให้เกิดความเป็นระเบียบวินัยไม่แอบแฝงอะไรที่ไม่ชอบอยู่ เบื้องหลัง เช่น เจตนาทำร้าย มีอคติ มีผลประโยชน์ เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3