การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
98 การธำรงวินัยเป็นการสั่งให้ทำการฝึกพิเศษบางอย่าง หรือการออกกำลังกายดังที่ได้ กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งนอกจากเป็นการฝึกทำให้ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายแล้วยังฝึก ให้สร้างความเคยชินกับความเหนื่อยล้าและต้องออกแรงในเวลาที่คาดเดาไม่ได้ ทั้งเวลาที่มีการธำรง วินัย อาจจะเป็นกลางวัน เที่ยงวัน กลางคืน เที่ยงคืน ฯลฯ หรือระยะเวลาของการธำรงวินัย เป็นการ ฝึกเปรียบเทียบเมื่อเวลาออกไปปฏิบัติหน้าที่ เหตุอาชญากรรม เหตุที่เจ้าหน้าที่ต้องออกไปปฏิบัติ หน้าที่ตามที่ประชาชนร้องขอ คำสั่งผู้บังคับบัญชา เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้นเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจ จบออกไปปฏิบัติหน้าที่จริงร่างกายต้องพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกเวลาโดยไม่มีเงื่อนไข และการ ธำรงวินัยนั้นมีการสั่งสอน หรืออาจจะมีคำพูดดูถูก เหยียดหยาม ด่าทอ สบประมาณ เพื่อกระตุ้น อารมณ์ในระหว่างการปฏิบัติคำสั่งควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจสามรถอดทนต่อ ความเจ็บใจในสภาวะร่างกายที่เหนื่อยล้าในทุกๆสถานการณ์ เช่น หิว ง่วง ร้อน ฯซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ อาจจะเจอเมื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่จริง ซึ่งเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจถูกธำรงวินัยบ่อยๆเป็นการฝึกให้ ร่างกายรับคำสั่งในสภาวะนั้นได้หรือที่เรียกว่าร่างกายบ่งการ ซึ่งการออกคำสั่งในการธำรงวินัยนั้นเป็น การใช้อำนาจเชื่อมโยงกับร่างกายและจิตใจเพื่อให้ตกอยู่ภายในอำนาจบางอย่างคือ การที่ร่างกาย สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้เป็นระเบียบวินัยเมื่ออยู่ในสถานการณ์กดดันเมื่อเวลาปฏิบัติหน้าที่จริง กล่าวคือการธำรงวินัยทำให้นักเรียนนายสิบตำรวจเกิดสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง จากการออกกำลังกายเป็นเวลานานๆ และทำให้ร่างกายพร้อมตอบสนองต่อคำสั่งอยู่ตลอดเวลา ทุก สถานการณ์ ควบคู่ไปกับการสร้างความยากลำบาก รำคาญ กดดัน เพื่อให้นักเรียนนายสิบตำรวจต้อง อยู่ในสภาพอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการฝึกความแข็งแรงของสภาพจิตใจไปพร้อมๆกับร่างกายถึงแม้ จะเหนื่อยล้าแค่ไหนเจ็บใจแค่ไหนก็ต้องทำงานได้ในทุกสถานการณ์ จากประโยชน์การรักษาระเบียบวินัย และความเข็มแข็งอดทน(Hardiness) ที่เกิด จากการธำรงวินัยดังกล่าวผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อหาข้อมูลจากกลุ่มบุคคลตัวอย่าง ได้คำตอบ จากผู้ให้ข้อมูลทั้ง 6 กลุ่มตัวอย่างได้ ดังนี้ กลุ่มตัวแทนของนักเรียนนายสิบตำรวจ เห็นด้วยหลักการ แนวคิดการรักษาระเบียบวินัย โดยได้ให้ความเห็นถึงการธำรง วินัยมีผลต่อการปกครอง และการฝึก ซึ่งเป็นการควบคุม รักษากฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติในระหว่างการ ฝึกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันในการอยู่ร่วมกัน การที่นักเรียนนายสิบตำรวจมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็น สังคมคนหมู่มากต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการปกครองเพื่อให้ทุกคนอยู่ในกรอบ กฎเกณฑ์ มีวินัย จึงมี ความจำเป็นหากมีการฝ่าฝืนก็ต้องมีบทลงโทษโดยการธำรงวินัย หากแต่การใช้ต้องคำนึงถึงความ เหมาะสมเป็นเหตุเป็นผล และมีขอบเขตการใช้ ควรมาจากการตกลงและทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มแรก เน้นการมีส่วนร่วม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3