การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
102 กล่าวคือพลเรือนเมื่อสอบผ่านการคัดเลือกเข้ามาเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ จะมีชั้นพลตำรวจสำรอง ซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ พ.1 ดังนั้นถึงแม้นักเรียนนายสิบตำรวจแม้จะอยู่ในระหว่างการฝึกอบรมใน ศูนย์ฝึกอบรมซึ่งยังไม่ได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่แต่ก็ถือว่าเป็นบุคคลที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยได้รับเงิน พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ดังกล่าวก็หย่อมถือได้ว่าเป็นข้าราชการตำรวจแล้ว การ กระทำที่ไปคัดต่อ กฎหมาย ระเบียบ กฎ คำสั่ง ที่ออกโดยอำนาจพระราชบัญญัตินี้ก็หย่อมถือว่ามีโทษ ซึ่งโดยเฉพาะในสวนของการรักษาวินัย และระเบียบ ก็ต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทั้งการกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง หรือร้ายแรงแล้วแต่กรณีซึ่งเมื่อมีการกระทำผิดวินัยก็จะถูกลงโทษทางวินัยทั้ง 7 สถาน ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 1 ถึง 39 มาตรา 77 ถึง 79 และมาตรา 82 จากระเบียบศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 ว่าด้วย การฝึกอบรม การปกครอง นักเรียนนายสิบ ตำรวจ พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดเกี่ยวกับลงโทษในกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ไว้ใน ข้อ 3 อนุ 9 และ อนุ 10 โดยการหักคะแนนเพียงเท่านั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบการลงโทษในรูปแบบการ ธำรงวินัยไว้ แต่การลงโทษที่ปฏิบัติจริงเมื่อผิดระเบียบกลับใช้วิธีการธำรงวินัยแทนการหักคะแนนโดย ใช้เหตุผลของการปกครองและการฝึกในเรื่องของระเบียบวินัยและการสร้างความเข็มแข็งของสภาพ ร่างกาย และจิตใจ แทน ในส่วนของระเบียบการธำรงวินัยที่ใช้ในการฝึกของทหาร ตำรวจ ปรากฎอยู่ในระเบียบโรงเรียน เตรียมทหารได้กำหนดเกี่ยวกับลงโทษทางวินัย เอาไว้ชัดเจนในข้อที่ 6.3 ตามระเบียบโรงเรียนเตรียมทหาร พ.ศ.2560 เช่น ท่าดันพื้น ปฏิบัติไม่เกิน 50 ครั้ง ต่อการปฏิบัติหนึ่งชุด ท่างอเข่าครึ่งนั่ง ปฏิบัติไม่เกิน 50 ครั้ง ต่อการปฏิบัติหนึ่งชุด ท่าพุ่งเท้าหลัง ปฏิบัติไม่เกิน 50 ยก ต่อการปฏิบัติหนึ่งชุด วิ่งไม่เกิน 1000 เมตร เป็นต้น ซึ่งการธำรงวินัยดังกล่าวห้ามมิให้มีการถูกเนื้อต้องตัวนักเรียนเตรียมทหารที่ถูก ธำรงวินัย โดยมีผู้บังคับบัญชาของผู้ทำการธำรงวินัยมาควบคุมการธำรงวินัยอีกที่หนึ่ง โดยในระหว่าง การออกกำลังกายมีการใช้วาทะศิลป์ในการอบรมให้สำนึกผิดหรือปรับปรุงตัวเอง ถึงแม้เป็นความผิด เล็กน้อยก็ตาม ซึ่งนอกจากการได้ประโยชน์จากท่าทางการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยัง เป็นการทำให้รู้สึกสำนึกผิดยอมรับผิดถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ไม่สามารถมองข้ามได้เพราะใน อนาคตเมื่อออกไปทำงานต้องรับผิดชอบที่สูงกว่านี้อีกมาก หรือเป็นการฝึกสร้างภาวะความเป็นผู้นำ มี วินัย ความรับผิดในระดับสูงนั้นเอง ซึ่งระเบียบดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการสร้างระเบียบในเรื่อง ของการ “การธำรงวินัย”หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจได้เพราะลักษณะการฝึก วัตถุประสงค์ เป้าหมาย เพื่อผลิตบุคลากร ทหาร ตำรวจ เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความสงบภายในราชอาญา จักร ป้องกันอาชญากรรมเช่นเดียวกัน 4.3 ปัญหาของการธำรงวินัยกับการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ “การธำรงวินัย” เป็นการใช้ในการลงโทษนักเรียนนายสิบตำรวจเมื่อผิดระเบียบดังที่กล่าวมาข้างต้น และยังรวมไปถึงเมื่อไม่ทำตามคำสั่งโดยชอบของครูปกครอง หรือ ครูฝึก โดยลักษณะเป็นการกระทำสั่งให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3