การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
103 ออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทน แต่โดยทั่วไปการกระทำจะเป็นในรูปแบบการใช้ดุลพินิจส่วนตัวของครู ฝึกไม่มีรูปแบบที่แน่ชัด บางที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของครูฝึก เช่น สั่งให้ทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ให้ กระโดดลงบ่อเกรอะ กระโดดลงคูระบายน้ำสกปรก นอนตากแดด ฯลฯ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมีปัจจัยดังนี้ 4.3.1 การธำรงวินัยที่รุนแรงเกินขอบเขต โดยปกติการธำรงวินัยที่ใช้คือ การออกคำสั่งให้นักเรียนนายสิบปฏิบัติตามคำสั่งโดย ผู้ออกคำสั่งจะเป็นครูฝึก หรือครูปกครอง ร้อยเวร หรือสิบเวรที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครอง ในแต่ละวัน ที่พบการกระทำผิดระเบียบวินัย หรือได้รับทราบการกระทำผิดวินัยจากผู้บังคับบัญชา ตามเหตุผลที่สมควร โดยลักษณะการปฏิบัติจะเป็นการออกคำสั่งให้ ปฏิบัติท่าออกกำลังกายในท่า ต่างๆ เช่น ท่าดันพื้น พุ่งเท้าหลัง กรรเชียงบก วิ่งจับเวลา วิ่งระยะทางไกลๆ เป็นต้น โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง แล้วแต่จะออกคำสั่ง ซึ่งหากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เช่น นานจนเกินไป อุณหภูมิที่สูงเกินไป ระยะเวลาต่อเนื่องนานจนเกินไป ท่าทางพิสดารที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ร่างกาย หรือ การกระทำต่อร่างกายโดยตรงต่อนักเรียนนายสิบตำรวจ เช่น ชก ทีบ กระทืบ เตะ เอา ไม้ฟาด ฯ จนถึงขนาดได้รับบาดเจ็บจนสาหัส เป็นต้น ซึ่งการกระทำที่กล่าวมาดังกล่าวหากทำให้ นักเรียนนายสิบตำรวจได้รับอันตรายจนสาหัสโดยเจตนา หรือ ประมาท ถือว่าเป็นการธำรงวินัยที่เกิน ขอบเขตทั้งสิ้น การกระทำจนถึงได้รับบาดเจ็บจนสาหัสลักษณะดังกล่าวไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของ หลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ 4.3.2 การธำรงวินัยกับหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจอยู่ในระหว่างการฝึกอบรม นักเรียนนายสิบตำรวจต้อง ปฏิบัติตนให้อยู่ในกติกา ขั้นตอนการปฏิบัติในห้วงแต่ละวัน และปฏิบัติตามคำสั่งตามที่ผู้บังคับบัญชา มอบหมาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนอย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าวถูกกำหนดสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานบางอย่าง ซึ่งนอกจากเป็นเรื่องของการปกครองแล้วก็ยังเป็นเรื่องของการฝึกให้อยู่ ในระเบียบวินัยและการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วย ซึ่งการกำหนดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ดังกล่าวหย่อมกระทำได้เพราะเป็นเรื่องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ สมรรถภาพ วินัย ของตำรวจ ตามรัฐ ธรรมมนูญฯ 2560 มาตรา 27 วรรคท้าย แต่การที่ครูฝึกที่ทำหน้าที่ปกครอง ลงโทษ โดยการกระทำ ในลักษณะที่รุนแรงเกินขอบเขตดังที่กล่าวไว้ข้างต้น จนทำให้ได้รับอันตรายจนสาหัส ซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ของชีวิตและร่างกาย ของนักเรียนนายสิบตำรวจซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกอบรมก็หย่อมได้รับความคุม ครองดังนั้นการฝึกนั้นจะไปเข้าข่ายกระทำการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมไม่ได้ทุกรูปแบบ นักเรียนนายสอบตำรวจก็ยังได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับบุคคล ทั่วไปตามรัฐธรรมมนูญฯ 2560 ตามมาตรา 4 มาตรา 27 และมาตรา 28
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3