การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
104 4.3.3 การอ้างหลักความยินยอมในทางอาญากับการสมัครใจในการถูกธำรงวินัย นักเรียนนายสิบตำรวจในฐานะผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยความสมัครใจเพื่อเข้ารับ การฝึกอบรม ซึ่งเมื่อเข้ามาทำการฝึกอบรมแล้ว ในบริบทของการฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจ จะต้องมี การฝึกเสริมสร้างในทางด้าน ร่างกายและจิตใจ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งพร้อมที่จะไปออกปฏิบัติ หน้าที่ในอนาคต ก็ต้องมีการกระทบกระทั่ง และอาจเกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย หรือจิตใจได้ซึ่งเป็น ผลธรรมดาที่หย่อมจะเกิดขึ้นได้จากการฝึก ซึ่งการสมัครใจเข้ารับการฝึกดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการสละ เจตนาทางกฎหมายยินยอมให้ครูฝึกออกคำสั่งและพร้อมจะปฏิบัติตามซึ่งเป็นจารีตประเพณีในการฝึก การธำรงวินัยถือว่าเป็นการยินยอมทำตามคำสั่งของครูฝึกซึ่งแน่นอนการกระทำท่าทางการออกกำลัง กายที่ไม่เกินขอบเขตมากนัก เช่น ท่าดันพื้น ท่าพุ่งเท้าหลัง ท่าจิงโจ้รัน 10-20 ครั้ง เป็นต้น ถือว่าเป็น ความรู้สึกของคนทั่วไปมองเห็นบริบทของสังคมกับเหตุการณ์ของการฝึกเป็นนักเรียนตำรวจก็ยังถือว่า อยู่ในหลักศีลธรรมอันดีของประชาชนที่หย่อมกระทำได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นหากเป็นกรณีที่สามารถ เล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำตามคำสั่งนั้นจะเกิดอันตรายถึงชีวิต หรือบาดเจ็บอย่างสาหัส ตัวผู้ทำหน้าที่ ฝึกหรือครูฝึกจะอ้างยกเว้นความผิดโดยใช้หลักการยินยอมทางอาญานั้นไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อ กฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 4.3.4 การขาดกฎหมายเฉพาะเรื่องการธำรงวินัย การธำรงวินัยคือการลงโทษอย่างหนึ่งเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจนั้นกระทำผิด ระเบียบของศูนย์ฝึกอบรมฯ ซึ่งระเบียบ ก็คือตัวกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนควบคุมความ ประพฤติของนักเรียนนายสิบตำรวจในศูนย์ฝึกอบรมโดยมีลำดับขั้นตอนมาบังคับให้เป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งโดยหลักของโครงสร้างของกฎหมายที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมี 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนของข้อเท็จจริงที่ เป็นองค์ประกอบของเหตุ และส่วนที่เป็นผลของกฎหมาย จะเห็นได้ว่าตัวระเบียบนั้นได้กำหนดเอาไว้ เป็นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเหตุว่ากระทำอย่างไรต้องรับผิดอย่างไรส่วนที่สองเป็นผลของตัว ระเบียบซึ่งเมื่อมีการกระทำผิดต้องได้รับโทษในลักษณะใดได้รับผลอย่างไร ซึ่งเมื่อมาพิจารณาดู ระเบียบศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 ว่าด้วยการฝึกอบรม การปกครองนักเรียนนายสิบตำรวจ พุทธศักราช 2560 นั้นปรากฏว่าได้กำหนดการลงโทษ ลงทัณฑ์ โดยวิธีการตัดคะแนนความประพฤติ เอาไว้เท่านั้นไม่ได้กำหนดการลงโทษโดยวิธี “การธำรงวินัย” เอาไว้ เมื่อไม่มีการกำหนดครูฝึกที่ทำ หน้าที่ปกครองทำการลงโทษจึงใช้ประสบการณ์ ที่ได้รับการฝึกฝนมาจากการไปอบรมหลักสูตรต่างๆ โดยใช้มาตรฐานความพร้อมในทางด้านร่างกาย จิตใจ ตามความรู้สึกของตนเองในการธำรงวินัย หรือ จากประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติจากรุ่นก่อนๆ มากระทำ ซึ่งเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นลักษณะของการ ลงโทษ เพราะไปกระทำผิด กฎ หรือระเบียบ การลงโทษจึงต้องมีการกำหนดเพื่อให้อำนาจในการ กระทำเอาไว้ แสดงว่ายังไม่มีตัวกฎหมายกำหนดลักษณะการกระทำดังกล่าวไว้ผู้ ใช้อำนาจการ ปกครองดกระทำการดังกล่าวถือว่ากระทำไปโดยไม่ชอบตามหลักนิติธรรม “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3