การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
105 โดยไม่มีกฎหมาย” หรือ “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ”คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติ ธรรมแห่งชาติให้ความหมายหลักนิติธรรม คือ หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย ซึ่ งแม้แต่กฎหมายใด กระบวนยุติธรรมใด หรือ การกระทำใดๆ จะไปฝ่าฝืน หรือขัดแย้งกับหลักนิติธรรมไม่ได้ 4.3.5 การธำรงวินัยที่เกินขอบเขตกับความรับผิดทางอาญา และทางแพ่ง การธำรงวินัยที่เกินขอบเขตนั้นเมื่อทำให้เกิดการเสียชีวิต หรือ บาดเจ็บสาหัสขึ้น จะ โดยการบังคับขู่ เข็น หรือโดยอ้างหลักการยินยอมมายกเว้นความผิดก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการขัดต่อ ศีลธรรมอันดีต่อประชาชน แน่นอนถือว่าการกระทำดังกล่าวไปละเมิดสิทธิทางด้านชีวิต ร่างกาย หรือ จิตใจ ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งผู้กระทำจะมีเจตนาโดยประสงค์ต่อผล หรือ เล็งเห็นผล หรือ แม้กระทำโดยประมาท ก็ต้องรับผิดแห่งการกระทำนั้น เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดย เจตนา ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา ความผิดฐานประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนสาหัส ความผิดฐานประมาทจนเป็น เหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงสาหัส เป็นต้น การกระทำที่เกิดจากการละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดจากการธำรงวินัยนั้นหากการ กระทำนั้นเกินขอบเขตที่มีความรุนแรงเกินไปจนไปกระทบสิทธิตามกฎหมาย นอกจากจะอ้างควม ยินยอมทางอาญาไม่ได้แล้ว ยังต้องรับผิดทางแพ่งเกี่ยวกับเรื่องของละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือ เสรีภาพซึ่งจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายนั้นตามกฎหมายนั้นด้วย จากปัญหาที่เกิดจากการธำรงวินัยดังกล่าวผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อหาข้อมูลจาก กลุ่มบุคคลตัวอย่าง ซึ่งได้คำตอบที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลทั้ง 6 กลุ่มตัวอย่างได้ดังนี้ กลุ่มตัวแทนของนักเรียนนายสิบตำรวจ ให้ความเห็นว่าระเบียบการธำรงวินัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์ อักษร เป็นเพียงการปฏิบัติที่เป็นลักษณะเป็นวัฒนธรรม ที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่นที่ผู้ทำการธำรงวินัยเคยมี ประสบการณ์มาก่อน ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงไปเกี่ยวพันธ์กับวิจารญาณของแต่ละบุคคลซึ่ง แตกต่างกัน ไม่มีมาตรฐานที่เป็นรูปแบบเดียวกัน เมื่อการธำรงวินัยไม่ได้กำหนดเป็นรูปแบบที่ชัดเจน แน่นอน การพิจารณาว่าการธำรงวินัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเหมาะสมหรืออยู่ในขอบเขตหรือไม่นั้นจึงเป็น เรื่องที่พิจารณาได้ยากเพราะไม่มีสิ่งที่กำหนดมีชัดเจน หากจะพิจารณาในเรื่องการใช้ท่าทางการธำรง วินัยที่ใช้อยู่ปัจจุบัน บางครั้งนักเรียนนายสิบตำรวจสามารถกระทำได้ แต่บางครั้งการกระทำท่าทาง ดังกล่าวนั้นใช้ระยะเวลานานเกินไปมีการสลับท่าทางหลายท่ามากเกินไปทำให้เกิดความเจ็บปวดของ ร่างกายและจิตใจซึ่งเกิดจากการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งมากกว่าเหตุผล เมื่อการบาดเจ็บดังกล่าวเกิดขึ้น จากการธำรงวินัยยังส่งผลกระทำเป็นลูกโซ่ไปถึงการฝึกที่ต้องใช้ร่างกายในวิชาต่อๆ ไป ปัญหาของการธงวินัยที่ไม่มีระเบียบที่แน่ชัดทำให้การลงโทษ ยังส่งผลทำให้เกิด ทัศนคติที่ไม่ดีต่อเพื่อนนักเรียนนายสิบตำรวจด้วยกันในกรณีถูกลงโทษรวมหมายถึงผู้ที่ไม่ได้กระทำผิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3