การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
108 จากคำตอบทั้ง 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นไปในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับปัญหาหลักเกิด จากการยังไม่มีการกำหนดระเบียบหรือกฎหมายเฉพาะเรื่องการธำรงวินัย ส่วนการกระทำตามอารมณ์ หรือเกินกว่าเหตุก็สืบเนื่องมาจากการยังไม่กำหนด รูปแบบ ขั้นตอน มาตรฐาน ที่แน่นอน โดยมีเหตุผล ที่สนับสนุนที่แตกต่างกันไปดังกล่าวข้างต้น 4.4 รูปแบบ ขั้นตอน วิธีการธำรงวินัยที่เหมาะสมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ จากหลักการ แนวคิด การธำรงวินัยถือว่ามีความจำเป็นในการปกครองและการฝึกแต่มีปัญหา หลักคือยังไม่มีการกำหนดระเบียบหรือกฎหมายเฉพาะเรื่อง ดังนั้นการกำหนดขอบเขตการธำรงวินัย จึงเป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งยังทำให้การธำรงวินัยนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายแทนที่จะเป็น การกระทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้าที่เปล่าประโยชน์ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 4.4.1 กำหนดรูปแบบขั้นตอน ท่าทางการออกกำลังกาย ของการธำรงวินัย การกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน ท่าทางการออกกำลังกายของการธำรงวินัยนั้นจะ อาศัยหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport science) และนำท่าทางการออกกำลังกายหรือท่ากาย บริหาร (Physical Training) จากหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจมาใช้กำหนดรูปแบบ ซึ่งการออก กำลังกายนั้นจะมี 5 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 1) การอบอุ่นร่างกาย (warm up) หมายถึงการขยับร่างกายแบบเบา ๆ เพื่อช่วยให้ เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และช่วยเพิ่ม ความยืดหยุ่นของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเคลื่อนไหวของร่างกายให้อยู่ใน สภาพที่เหมาะสม และพร้อมสำหรับการออกกำลังกายต่อไป การว อร์มอัพ เช่น การวิ่งอยู่กับที่เบาๆ 10-15 นาที การวิ่งระยะสั้น 10 เมตร เป็นต้น ดังนั้นขั้นตอนการธำรงวินัยอันดับแรกในขั้นตอนการ (Warm up) คือการที่ครูปกครอง หรือครูฝึกที่ทำการลงโทษด้วยการธำรงวินัย มีการเรียกแถวซึ่ง นักเรียนนายสิบตำรวจต้องวิ่งมาจัดแถวตามระเบียบการฝึกแบบฝึกตำรวจบุคคลแถวชิด โดยอาจจะมีการ เรียกแถวใหม่หลายๆรอบใช้เวลา 10-15 นาที ก็ถือว่าเป็นการวอร์มอัพแล้ว 2) การยืดกล้ามเนื้อ (stretching) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากทั้งก่อน และหลังออก กำลังกายหนักๆ เพราะจะช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อได้ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละมัด ประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อจำนวนมากรวมกัน มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ ส่วนหัวและท้ายเป็นเอ็น กล้ามเนื้อทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะดึงกระดูกเข้ามาใกล้กันมาก ขึ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย การหยืดเหยียด เป็นการทำท่าทางต่างๆการ ปฏิบัติ ควรยืดเหยียดกลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อน เช่น หน้าอก ไหล่หลังส่วนบน ต้นแขน คอ หน้าท้อง หลัง สะโพก ต้นขา จนถึงปลายขา เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีแรงดึงและแรงยึดเกาะมาก ส่งผลทำให้ เกิดอาการปวด ดังนั้น การคลายกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะส่งผลให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น ควรเริ่มต้นยืด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3