การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
117 ท่าเตรียม ยืนแยกเท้า แขนทั้งสองชูเหนือศีรษะ เป็นรูปตัววีหันฝ่ามือออก (ภาพ 15.1) จังหวะที่ 1 ก้มตัวเหยียดแขนทั้งสองตึงให้ปลายนิ้วแตะพื้น ขาตึง แขนอยู่ระหว่างเท้า (ภาพ 15.2) จังหวะที่ 2 ให้มือขวาทับมือซ้าย ก้มตัวลงระหว่างเข่า (ภาพ 15.3) จังหวะที่ 3 ยืดลำตัวขึ้นมาแล้วก้มตัวลงไป เหยียดแขนทั้งสองพุ่งไประหว่างขาด้านหลัง (ภาพ 15.4) จากท่าทางการออกกำลังกายทั้ง 15 ท่าดังกล่าวกำหนดให้ผู้มีอำนาจในการลงโทษทาง วินัยกระทำการธำรงวินัยได้โดยเลือกเอาท่าหนึ่งท่าใดมาใช้โดยกำหนดให้กระทำท่าละไม่เกิน 20 ยก เพราะหากกระทำเกินไปกว่านี้อาจจะทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้ซึ่งจำนวนยกนั้นหากเป็นการ ออกกำลังกายปกติจะกระทำไม่เกิน 10 ยก แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นในเชิงของการลงโทษจึง กำหนดให้มากกว่า 10 ยกเพื่อให้เกิดความเหนื่อยล้ามากกว่าการออกกำลังกายปกติให้ผู้ถูกกระ ลงโทษรู้สึกว่าเป็นการลงโทษโดยจะกระทำต่อเนื่องในท่าเดียวกันหรือสลับท่าติดต่อการเกิน 2 ชุด (รวมกันแล้ว 40 ยก)โดยไม่มีการพักไม่ได้เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่กำหนดจำนวนเซตให้ออกท่าทางเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬาในเรื่องของการ ออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักของตัวเอง หรือน้ำหนักของตัวเองร่วมกับแรงต้านภายนอกมาเป็นแรงต้าน (Body Weight หรือ Weight training exercise มาสร้างกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่ง นอกจากการออกกำลังกายทั้ง 15 ท่ายังรวมไปถึงการให้วิ่งไม่เกิน 1000 เมตรด้วย ส่วนในทางปฏิบัติท่าทางที่นิยมที่นำมาใช้ในการธำรงวินัยมี 8 ท่าดังนี้ ท่าดันพื้น ท่าดัน พื้น 4 จังหวะ ท่าพุงเท้าหลัง 3 ท่านี้ประโยชน์จะสร้างกล้ามเนื้อส่วนแขนหน้าอกส่งผลให้การยิงปืนดี ขึ้น ท่ากรรเชียงบก ท่าเตะอากาศ ท่าโอ้แม่ยอดรัก 3 ท่านี้ประโยชน์จะสร้างกล้ามเนื้อหน้าทอง ท่า กระโดดนั่ง ท่าจิงโจ้รัน 2 ท่านี้ประโยชน์จะสร้างกล้ามเนื้อส่วนขา ต้นขา ทำให้การวิ่งมีประสิทธิภาพ นอกจาก 8 ท่าก็จะมีการวิ่ง 1000 เมตรที่นิยมใช้กัน 4) การผ่อนกาย (cool down) หรือการทำให้เย็นลง คือ หลังจากการวิ่งต่อเนื่องเป็น ระยะเวลา20-30 นาที ต้องมีการปรับสภาพร่างกายจากวิ่ง มาเป็นสภาพร่างกายปกติ ถ้าเราหยุด ทันที หัวใจที่เคยเต้น 130 – 140 ครั้งต่อนาที จะกลับมาสู่สภาพปกติ คือเต้น 70 ครั้งต่อนาทีในเวลา สั้นๆก็อาจเกิดอันตราย ได้ เพราะปอดและหัวใจปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากปริมาณเลือดของร่างกาย ส่วนใหญ่จะไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกาย หากหยุดออก กำลังกายทันทีทันใดจะทำให้ เลือดที่ไหลเวียนกลับสู่หัวใจน้อยลง โดยเลือดจะคั่งค้างอยู่ที่หลอดเลือดภายในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ ปริมาณเลือดที่บีบออก จากหัวใจเพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง โดยเฉพาะสมอง จึงทำให้ เกิด อาการหน้ามืดเป็นลมได้ ครูปกครองที่ทำการธำรงวินัยจึงควรจะให้นักเรียนนายสิบตำรวจเดิน ต่อไปอีกสักอย่างน้อย 5-10 นาที ก่อนจะสั่งให้หยุด ส่วนในกรณีทำท่ากายบริหารต่อเนื่องเป็น เวลานานควรจะมีช่วงพักเมื่อทำติดต่อกัน 2 เซตเพื่อช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงดังกล่าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3