การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
125 พุทธศักราช 2560 ข้อ 9 และ ข้อ10 แต่ในทางปฏิบัติเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจกระทำความผิด ระเบียบ หรือไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบจะใช้วิธีการลงโทษโดยการธำรงวินัยแทนการตัดคะแนน โดยมี เหตุผลสนับสนุน ดังนี้ 3.1. การลงโทษจะหลีกเลี่ยงการตัดคะแนนเนื่องจากระเบียบมีข้อบังคับที่มีจำนวนมากการ กระทำผิดจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยหากการตัดคะแนนเกิน 40 คะแนนนักเรียนนายสิบตำรวจจะไม่มี สิทธิสอบและจะกลายเป็นผู้สอบตกตามหลักสูตรหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจกำหนด ก็จะมีผลใน การสำเร็จการศึกษา 3.2 การลงโทษโดยการธำรงวินัยแทนการตัดคะแนนเป็นการฝึกในรูปแบบหนึ่งในการสร้าง ให้นักเรียนนายสิบตำรวจมีระเบียบวินัย เป็นการลงโทษโดยการใช้อำนาจในอีกรูปแบบหนึ่งโดยผ่าน ชุดองค์ความรู้ประเภทหนึ่ง โดยถ่ายทอดผ่านวาทกรรม มาเพื่อทำให้นักเรียนนายสิบตำรวจเพื่อให้เกิด ความ “กลัว”จากการถูกลงโทษ ทำให้เกิดการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนเกิดเป็นพฤติกรรมภาวะ ปกติ หรือเป็นการสร้าง “ร่าง” อีกร่างหนึ่งขึ้นมาใหม่ “ร่าง” ทีมีระเบียบวินัยทำตามคำสั่งทันทีเมื่อ ได้รับคำสั่ง “เป็นทรัพย์สินทางชีวภาพ” มาทำหน้าที่ในงานเฉพาะอย่างของทหารตำรวจ นักเรียน นายสิบตำรวจจะให้ความสำคัญกับคำสั่งหรือระเบียบต่างๆมีการกระตือรือร้นต่อคำสั่งอยู่ตลอดเวลา และเป็นการใช้อำนาจในการปกครองรูปแบบหนึ่งหรือที่เรียกว่าการปกครองชีวญาณ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือการมีระเบียบวินัยเป็นกระบวนการฝึกฝนเพื่อให้แทรกซึมเข้าไปในร่างกายจนรู้ระบบของการอยู่ใน สถานฝึกอบรม ทำให้ร่างกายเกิดความเคยชินเกิดเป็นบรรทัดฐานดังกล่าวจนรู้สึกว่าเป็นภาวะปกติ ของร่างกายนอกจากนี้ยังส่งผลให้มีความเข็มแข็งอดทน (Hardiness) จากลงโทษการธำรงวินัยที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เป็นการสะสมประสบการณ์ที่ได้รับจากการ ฝึกฝนจากความยากลำบาก ซึ่งนักเรียนนายสิบตำรวจที่สามารถบริหารความเครียดในสถานการณ์ ดังกล่าวให้ลดน้อยลงจนเข้าสู่ภาวะปกติได้จะมีบุคลิกที่เรียกว่าบุคลิกภาพที่เข้มแข็งอดทน ( Hardy Personality) เป็นการบ่มเพาะให้เกิดการปฏิบัติตามคำสั่งและความอดทนกับสถานการณ์ต่างๆโดยสั่ง ให้ทำการฝึกพิเศษบางอย่าง หรือการออกกำลังกายดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งนอกจากเป็นการฝึกทำ ให้ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายแล้วยังฝึกให้สร้างความเคยชินกับความเหนื่อยล้าและ ต้องออกแรงในเวลาที่คาดเดาไม่ได้ ทั้งเวลาที่มีการธำรงวินัย อาจจะเป็นกลางวัน เที่ยงวัน กลางคืน เที่ยงคืน ฯลฯ หรือระยะเวลาของการธำรงวินัย เป็นการฝึกเปรียบเทียบเมื่อเวลาออกไปปฏิบัติหน้าที่ เหตุอาชญากรรม เหตุที่เจ้าหน้าที่ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประชาชนร้องขอ คำสั่งผู้บังคับบัญชา เกิดขึ้นได้ทุกเวลา และการที่ร่างกายสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้เป็นระเบียบวินัยเมื่ออยู่ในสถานการณ์ กดดันเมื่อเวลาปฏิบัติหน้าที่จริงนั้นเอง 3.3 การธำรงวินัยมีผลต่อการปกครอง และการฝึก ซึ่งเป็นการควบคุม รักษากฎเกณฑ์ที่ ต้องปฏิบัติในระหว่างการฝึกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันในการอยู่ร่วมกันเพราะการที่นักเรียนนายสิบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3