การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
127 มีรูปแบบ รูที่มาจะก่อให้เกิดการยอมรับเชื่อฟัง และเกิดเป็นบุคลิกภาพของผู้รักษากฎหมายฐานะ ตำรวจได้ในอนาคต 4) การธำรงวินัยดังกล่าวผู้ลงโทษโดยส่วนใหญ่จะเป็น ครูฝึก สิบเวรปกครอง ร้อยเวรปกครอง ไม่ ว่าจะเป็นความผิดที่พบเจอเองหรือได้รับคำสั่ง หรือบอกกล่าวจากผู้พบเห็นการกระทำความผิด จะใช้วิธีการ อกคำสั่งให้ออกกำลังกายในท่าทางต่างๆเพื่อให้เกิดความเหนื่อยล้าที่สุด หรืออาจจะประกอบกับความ ยากลำบากอื่นๆ เช่น หิว ง่วง ร้อน ฯ เพื่อฝึกให้มีความอดทน ควบคุมอารมณ์ ตามสถานการณ์นั้นๆ โดย บางครั้งผู้ทำการธำรงวินัยจะใช้วิธีการที่อาจแตกต่างกันตามความคิดของแต่ละคนทำให้ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน และแน่นอน ถือว่าเป็นช่องว่างที่ทำให้การธำรงวินัยนั้นเกิดจากการกระทำตามอารมณ์ ไม่มีขอบเขตในการ ลงโทษ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส หรืออาจจะเสียชีวิตได้ เป็นภาวะความเสี่ยงที่เป็นช่องว่างของการ ธำรงวินัยที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นซึ่งไม่มีหลักวิชาการมาสนับสนุนเพื่อรองรับการกระทำดังกล่าว ซึ่งปัญหามีเหตุ ปัจจัยและเหตุผลที่สนับสนุน ดังนี้ 4.1 ไม่มีการกำหนดรูปแบบการธำรงวินัยโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อมาพิจารณาดูระเบียบศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 ว่าด้วยการฝึกอบรม การปกครองนักเรียนนายสิบตำรวจ พุทธศักราช 2560 ไม่ได้กำหนดการลงโทษโดยวิธี “การธำรง วินัย” เอาไว้ เมื่อไม่มีรูปแบบการธำรงวินัยจึงเป็นเรื่องของการใช้วิจารณญาณของผู้ลงโทษของแต่ละ คนซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการที่ได้ปฏิบัติกันมาสืบทอดรุ่นต่อรุ่น หรือออกแบบขึ้นมาเองโดยยึดความ เหนื่อยล้า ความเจ็บปวด ตามอารมณ์ การลงโทษดังกล่าวแสดงว่ายังไม่มีตัวกฎหมายกำหนดลักษณะ การกระทำดังกล่าวไว้ผู้ใช้อำนาจการปกครองกระทำการดังกล่าวถือว่ากระทำไปโดยไม่ชอบตามหลัก นิติธรรม “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” หรือ “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” ดังนั้นการ ธำรงวินัยเกิดจากยังไม่ได้กำหนดรูปแบบการธำรงวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน ทำให้เกิดการ ลงโทษที่มีจำนวนท่าหรือระยะเวลาที่นานเกินไปทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย และมองว่าการ ธำรงวินัยบางครั้งเกิดจากการกระทำไปตามอารมณ์ รูปแบบการลงโทษของครูฝึกแต่ละคนจะไม่ เหมือนกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ท่าทางที่พิสดารอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อนักเรียนนายสิบ ตำรวจได้ เป็นต้น หากมีการกำหนด รูปแบบที่ชัดเจนจะเป็นตัวกำหนดการกระทำดังกล่าวขึ้นมา ทั้งตัวผู้ที่ทำหน้าที่ครูฝึกเองและนักเรียนนายสิบตำรวจก็จะทราบถึงรูปแบบการธำรงวินัยที่เป็น แนวทางเดียวกัน 4.2 อาศัยความสมัครใจโดยใช้หลักการยินยอมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในการที่จะ ก็ถือว่าเป็นการสละเจตนาทางกฎหมายยินยอมให้ครูฝึกออกคำสั่งและพร้อมจะปฏิบัติตามซึ่งเป็น จารีตประเพณีในการฝึกแต่การสมัครใจดังกล่าวหากเป็นกรณีที่สามารถเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำ ตามคำสั่งนั้นจะเกิดอันตรายถึงชีวิต หรือบาดเจ็บอย่างสาหัส ตัวผู้ทำหน้าที่ฝึกหรือครูฝึกจะอ้างยกเว้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3