การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

128 ความผิดโดยใช้หลักการยินยอมทางอาญานั้นไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การธำรงวินัยที่ไม่มีรูปแบบดังกล่าวอาจจะส่งผลให้เกิดช่องว่างทำให้การกระทำเกิน ขอบเขตซึ่งจะอาศัยหลักการยินยอมทางกฎหมายไม่ได้ รวมไปถึงลักษณะการลงโทษต้องมีระเบียบมา รองรับหรือให้อำนาจตามหลักนิติธรรม เมื่อไม่มีตัวระเบียบมารองรับเมื่อเกิดความเสียหายไปละเมิด สิทธิทางด้านชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งหากไปละเมิดสิทธิใน ชีวิต หรือร่างกายก็ต้องรับผิดในทางอาญาสำหรับการกระทำนั้น เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา ความผิดฐานประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ความผิด ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนสาหัส ความผิดฐานประมาทจนเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงสาหัส เป็นต้น และความรับผิดในแพ่งที่เกี่ยวกับการละเมิดใน ชีวิต ร่างกาย อนามัย และเสรีภาพ ซึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นอีกด้วย 5.2.2 การธำรงวินัยที่เหมาะสมของการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยเสนอให้มีการการกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการ การ ธำรงวินัยได้ดังนี้ 1) การกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน ท่าทางการออกกำลังกายของการธำรงวินัยนั้นจะอาศัย หลักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport science) และนำท่าทางการออกกำลังกายหรือท่ากายบริหาร (Physical Training) จากหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจมาใช้กำหนดรูปแบบ ซึ่งการออกกำลังกาย นั้นจะมี 5 ขั้นตอนที่สำคัญเช่น ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย (warm up) ขั้นตอนการยืดกล้ามเนื้อ (stretching) การออกกำลัง (training zone exercise) การผ่อนกาย (cool down) เป็นต้น 2) การกำหนดรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการดังกล่าว ลงในระเบียบถือว่าเป็นการไปกำหนดสิทธิ และเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวินัยกำหนดขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ บุคคลผู้เป็น ทหาร ตํารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กร ของรัฐย่อมมีสิทธิ และเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จํากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม แต่การกำหนดรูปแบบวิธีการดังกล่าวจะเป็นการลักษณะการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทํามิได้ เพราะสิทธิดังกล่าว นักเรียนนายสิบตำรวจก็หย่อมได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ฯ พ.ศ.2560 มาตรา 27 วรรคท้าย มาตรา 28 วรรคแรก วรรคท้าย เมื่อมีการกำหนดรูปแบบดังกล่าว ขึ้น ดังนั้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยหลักนิติธรรมและกฎหมาย สามารถพิสูจน์ถือเจตนาได้ชัดเจนว่าไปละเมิดต่อนักเรียนนายสิบตำรวจ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3