การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

3 ดังกล่าวจะมีรูปแบบเดียวกับการฝึกของทหาร ซึ่งบางที่ความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากการธำรงวินัย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ที่ปรากฏอยู่ตามสื่อ ข่าว หรือหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน หากการธำรง วินัยนั้นรุนแรงเกินไปจนทำให้บาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ตัวอย่างเช่นการเสียชีวิต ของ “ภคพงศ์ ตัญ กาญจน์” นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ที่สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการ“ธำรงวินัย” และเหตุการณ์ที่มี ลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าวที่มีลักษณะคล้ายๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ในกรณีพลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม ทหารเกณฑ์ในค่ายวิภาวดีรังสิต ที่โดนทำโทษในข้อหาผิดวินัยตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม ถูกหามส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในวันที่ 31 มีนาคม ในกรณีพลทหารนพดล วรกิจพันธ์ ซึ่งเพิ่งถูก ทำโทษทางวินัยในช่วงเย็น พอตกค่ำก็เสียชีวิต โดยแพทย์แจ้งว่าลิ้นหัวใจภายในฉีกขาดและมีเลือดคั่ง ภายใน เป็นต้น (โตมร สุขปรีชา, 2560) ส่วนในต่างประเทศสำนักข่าวบีบีซีไทยรายงานว่าที่ประเทศ อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ศาลอินโดนีเซียได้พิพากษาตัดสินให้จำคุกนักเรียนนายร้อยตำรวจ อินโดนีเซียชั้นปีที่ 3 จำนวน 5 คน ฐานกระทำความผิดซ้อมนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 2 ผู้หนึ่งจนเสียชีวิต เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ทั้ง 5 คนถูกจำคุกหนักเบาต่างกัน ตั้งแต่ 6 เดือน 20 วัน ไปจนถึง 1 ปี ซึ่งสื่อสังคม อินโดนีเซียวิพากษ์ว่าเป็นโทษที่เบาเกินไป (วสิษฐ เดชกุญชร, 2560) ถึงแม้ความเสียหายในการฝึกอบรมใน ศูนย์ฝึกอบรมของตำรวจภูธรยังไม่เกิดขึ้นตาม สื่อ หรือข่าวต่างๆ อย่างชัดเจนแต่ด้วยวิธีการที่มีกุสโลบายหรือ รูปแบบเดียวกัน ของการธำรงวินัยก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในลักษณะดังกล่าวได้ในอนาคต การธำรงวินัยที่รุนแรงดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่มีปัญหาเพราะการธำรงวินัยที่รุนแรงเป็นการละเมิดต่อ ร่างกาย สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น เช่น ความรับผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 295 ความรับผิดฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 297 ความรับผิดฐานประมาททำให้ บุคคลอื่นได้รับอันตรายหรือสาหัสตามมาตรา 300 ความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 และมาตรา 310 เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงเป็นการยากในการตรวจพิสูจน์ถึงเจตนาและสาเหตุแห่งการบาดเจ็บ เพราะมี หลักความยินยอมของผู้เสียหายมายกเว้นความผิดเพราะเป็นเรื่องของประเพณีในระบบของการปกครอง และการฝึกเพื่ออ้างเหตุแห่งความยินยอมได้ แต่ในทางกลับกันหากผู้ปกครองของนักเรียนนายสิบตำรวจ หรือนักเรียนนายสิบตำรวจเอง อ้างสิทธิเสรีภาพดังกล่าวตลอดระยะเวลาการฝึกก็จะเป็นปัญหาในการ ปกครองและการฝึกด้วยเพราะจะมีผลในการที่จะรักษาวินัยของนักเรียนนายสิบตำรวจ และครูฝึกก็มีความ กังวลว่าการกระทำของตนเองนั้นมีขอบเขตแค่ไหนในการปกครองเพราะเรื่องของเจตนาในการธำรงวินัย นั้นบางครั้งมีความใกล้เคียงการเจตนาในการรับผิดในทางอาญาได้เช่นกัน เมื่อการธำรงวินัยรุนแรงเกินไปก็ อาจถูกตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง สื่อ จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หากลดประสิทธิภาพใน การปกครองวินัยก็จะมีผลในเรื่องการปกครองและการฝึกจนผลิตบุคลากรที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไป ทำงานซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อองค์กรได้ จากปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจาก “การธำรงวินัย” ซึ่งได้ยกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเกิดจากการ ลงโทษ ลงทัณฑ์ เมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจทำผิดระเบียบวินัย ซึ่งเมื่อมาพิจารณาดูระเบียบศูนย์ฝึกอบรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3