การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความเหมาะสมทางกฎหมายเกี่ยวกับการธำรงวินัยของการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียน นายสิบตำรวจ : ศึกษาเฉพาะการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 9 ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี กฎหมาย เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับวินัย 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองและการฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจกับการธำรงวินัย 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับหลักความยินยอมในทางอาญา 2.5 แนวคิดเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2.6 แนวคิดหลักนิติธรรม 2.7 หลักการว่าด้วยวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายสำหรับการฝึก 2.8 กฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ 2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ 2.1.1 หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ 2.1.1.1 หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ.2559 ตามมติ อ.ก.ตร. บริหารทรัพยกรบุคคล ครั้งที่ 13/2559 ลง วันที่ 20 ธันวาคม 2559 (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, 2559) โดยโครงสร้างหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ.2559 ภาค 4 ข้อ 33 กำหนดระยะเวลาฝึกอบรม 1 ปี แบ่งเป็น 4 ภาคประกอบด้วย 1) ภาควิชาการและการฝึก 7 เดือน เป็นการเรียนภาควิชาการและการฝึก ระยะเวลา 7 เดือน แบ่งเป็น 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 3 เดือนครึ่ง ประกอบด้วย 7 หมวดวิชา หมวดที่ 1 หมวดการศึกษาทั่วไป (มี 7 วิชาเรียน) หมวดที่ 2 หมวดกฎหมาย (มี 6 วิชาเรียน) หมวดที่ 3 หมวดการบริหารงานตํารวจ (มี 5 วิชาเรียน) หมวดที่ 4 การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม( มี 5 วิชาเรียน )หมวดที่ 5 การสืบสวนสอบสวน (มี 3 วิชาเรียน) หมวดที่ 6 การจราจร (มี 1 วิชาเรียน) และหมวดที่ 7 การฝึกตํารวจและการฝึกพลศึกษา (มี 5 วิชาเรียน) ซึ่งในหมวดนี้ จะมีการฝึกตามแบบ ฝึกตํารวจการยิงปืนพก ยุทธวิธีตํารวจ วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายสําหรับ ตํารวจ ซึ่งเป็นหมวดที่มีการฝึกเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกาย และจิตใจ การใช้อาวุธ การ ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังในการเข้าจับกุม หรืออื่นๆ รามละเอียดตาม ภาค 4 ข้อ 33.1
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3