การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
16 อนึ่ง จาก (11) - (19) การลงบรรจุแต่งตั้งรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ที่ สำเร็จจากกองกำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษฝึกทั้ ง 9 แห่ง จะลงปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีกองบังคับการอยู่ทั่วประเทศ 2.1.2.2 โครงสร้างการบริหารราชการศูนย์ฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ 1. ศูนย์ฝึกอบรมที่มีระดับเป็นกองบังคับการ 10 แห่งแยกเป็น 1.1 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจกลาง(ฝรก.) มีโครงสร้างบริหารงานของศูนย์ฝึกโดย ประกอบไปด้วย 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายบริการการอบรม ฝ่ายปกครองและการฝึก (ประกอบด้วยกองร้อยใช้ในการปกครองและการฝึก 3 กองร้อยหลัก) และ ฝ่ายศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจ กลาง (ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจกลาง, 2565) 1.2 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร 1 ถึง 9 มีโครงสร้างบริหารงานของศูนย์ฝึกโดย ประกอบไปด้วย 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายบริการการการศึกษา ฝ่ายปกครองและ การฝึก(ประกอบด้วยกองร้อยใช้ในการปกครองและการฝึก 3 กองร้อยหลัก) และ ฝ่ายกลุ่มงาน อาจารย์ (ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9, 2565) 2. ศูนย์ฝึกที่มีระดับเป็นกองกำกับการ (รวม 9 แห่ง) กองกำกับการ 1-9 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวน ชายแดน มีโครงสร้างบริหารงานที่อาจจะมีการแบ่งอำนาจหน้าที่บังคับบัญชา เหมือนกันหรือแตกต่าง กัน แต่มีหน่วยงานที่เหมือนกันดังนี้ งานเกี่ยวกับกำลังพล วินัยและสวัสดิการ งานการฝึกและ วิชาการ งานแผนงานและงบประมาณ งานการเงินและส่งกำลังบำรุง และกองร้อยใช้ในการปกครอง และการฝึก 5 กองร้อย (กองกำกับการ 1-9 กองบังคับการฝึกพิเศษกองบัญชาการตำรวจตระเวน ชายแดน, 2565) จากโครงสร้างการบริหารราชการจะเห็นได้ว่า ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร 1 ถึง 9 มี โครงสร้างบริหารงานของศูนย์ฝึกเหมือนกันทั้งหมด ส่วนศูนย์ฝึกที่เป็นระดับกองบังคับการทั้ง 10 แห่ง จะมีฝ่ายปกครองและการฝึก มีหน้าที่ควบคุมดูแล วินัย การปฏิบัติตัวตาม รปจ.และ การฝึก ของ นักเรียนนายสิบตำรวจเหมือนกันทั้ง 10 แห่ง ส่วนกองกำกับการ ฯ ที่เป็นศูนย์ฝึกของตำรวจตระเวน ชายแดน จะมี ฝ่ายงานการฝึกและวิชาการ และกองร้อย 1-5 มีหน้าที่ควบคุมดูแล วินัย การปฏิบัติตัว และ การฝึก ของนักเรียนนายสิบตำรวจทัง 9 แห่ง 2 .1.2.3 การปกครองและการฝึก ศูนย์ฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ จากศูนย์ฝึกทั้ง 19 แห่งที่ใช้ในการฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจที่ได้กล่าวมา ข้างต้นนั้น (ข้อ 2.1.2) จะใช้หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ. 2559 และ หลักสูตรนักเรียนนาย สิบตำรวจ พ.ศ. 2560 เป็นหลักสูตรหลักในการฝึกอบรมเดียวกัน (ข้อ 2.1.1) ส่วนจะใช้หลักสูตรไหน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการขาดแคลนกำลังพลที่ลงปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3