การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
26 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองและการฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจกับการธำรงวินัย 2.3.1 การปกครองกับการธำรงวินัย การปกครองนักเรียนนายสิบตำรวจคือการควบคุมดูแลนักเรียนนายสิบตำรวจให้อยู่ใน ระเบียบวินัย สามารถปฏิบัติตามคำสั่งตามที่ระเบียบที่กำหนดได้ โดยใช้การธำรงวินัยเป็นเครื่องมือใน การรักษาวินัย ซึ่งมีแนวคิดอำนาจสมัยใหม่ในทัศนะของ มิเชล ฟูโกต์ อธิบายดังนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้หยิบยกแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault ค.ศ. 1926-1984) นักปรั ชญาชาวฝรั่ งเศสซึ่ งเป็นบุคคลที่ มีบทบาทสำคัญเกี่ ยวกับโครงสร้ างนิยม (Structuralism) และมีความคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์หลาย แขนงของโลก (พระมหาสำรอง สญญูโต ณัฐชยา จิตภักดี & จิราภรณ์ ผันสว่าง, 2563) โดยนำ แนวคิดเรื่องของ “อำนาจ” ที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์โดยที่มนุษย์ใช้อำนาจดังกล่าวควบคุมตนเองโดย ผ่าน “การปกครองแบบชีวญาณ”การปกครองแบบชีวญาณเป็นเทคนิคของการควบคุมร่างกายและ ความคิดของมนุษย์ผ่านกลยุทธ์อันแนบเนียนโดยใช้ความรู้ควบคู่กับระเบียบวินัยกลายมาก่อให้เกิด อำนาจ หรือเรียกว่า “อำนาจชึวะภาพ” (จารุณี วงศ์ละคร, 2561) ที่เป็นระบบอำนาจนิยมในสมัยใหม่ โดยมีวิธีการแทรกซึมอำนาจดังกล่าวผ่านการควบคุมและบังคับผ่าน “ร่างกาย”ของมนุษย์ โดยการ สร้างวาทกรรมอย่างการปกครองในอดีตและคำสอนศาสนจักร กลายมาเป็นอำนาจที่ผ่านกระบวนการ สร้างบรรทัดฐาน (la normalization) โดยมี “ระเบียบวินัย” (la discipline) เป็นเครื่องมือในการ ควบคุม บังคับให้มนุษย์อยู่ภายใต้บรรทัดฐานเดียวกัน (วีระชล บางศิริ & สุริยะ หาญพิชัย, 2563) ฟูโกต์ มองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลง หรือการแบ่งแยก ตามบริบทของยุคสมัยใหม่นำมาซึ่งการ สร้าง บรรทัดฐานบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากบรรทัดฐานนั้นจะนำมาถูกจัดวางอีกที่ หนึ่งเพื่อให้กลับสู่บรรทัดฐานที่เรียกว่า “ภาวะปกติ” ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้กำหนดรายละเอียดใน กิจกรรมของมนุษย์เพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เช่น โรงพยาบาล โรงงาน ค่ายทหาร โรงเรียน เป็นต้น (อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ, 2556) จากแนวคิดเรื่องอำนาจดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจ โดยผ่านเทคนิคที่เรียกว่า “การ ปกครองแบบชีวญาณ” ก่อให้เกิดอำนาจที่ส่งผลต่อจิตใต้สำนึก และร่างกายของมนุษย์ ทำให้ร่างกาย ตอบสนองไปตามอำนาจดังกล่าว หรือที่เรียกว่า “ร่างกายใต้บ่งการ” หรือ “ร่างกาย ในโอวาท” (จารุณี วงศ์ละคร, 2561) ซึ่งไม่ว่าจะพูดถึง“การปกครองแบบชีวญาณ” หรือ “ร่างกายใต้บ่งการ”ที่ กล่าวไว้ในเรื่องของอำนาจของ ฟูโก ก็จะมี “ระเบียบวินัย” เป็นเครื่องมือผ่านอำนาจดังกล่าวดังนั้น การธำรงวินัยหรือการควบคุมวินัยซึ่งเป็นการปกครองให้นักเรียนนายสิบตำรวจอยู่ในระเบียบวินัยจึงมี แนวคิดที่สนับสนุนกัน โดยอธิบายจากคำสำคัญได้ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3