การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

27 2.3.1.1 การปกครองชีวญาณ “การปกครองชีวญาณ หรือการปกครองเชิงชีวภาพ ” คือ การที่สถาบัน เช่น กองทัพ โรงพยาบาล โรงงาน โรงเรียน ฯลฯ จัดระเบียบพื้นที่ภายในควบคู่กับกำหนดการใช้กฎ หรือระเบียบ มาควบคุม ให้สมาชิกภายในยึดถือปฏิบัติ เป็นการเปลี่ยนจากการควบคุมภายนอก ร่างกายมาควบคุมภายในร่างกายแทน จนทำให้มนุษย์เข้าใจว่าตนเองเป็นผู้ควบคุมตนเอง เป็นผู้ มีระเบียบวินัยโดยไม่ต้องให้ใครมาควบคุมตนเอง วิธีการดังกล่าวถือเป็นศิลปะในการปกครอง เชิงชีวภาพโดยอาศัยเทคนิคในการควบคุมร่างกายมนุษย์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ชีวรัฐศาสตร์ (Bio-politics)” (พระมหาสำรอง สญญูโต ณัฐชยา จิตภักดี & จิราภรณ์ ผันสว่าง, 2563) “การปกครองชีวญาณ” เป็นการปกครองที่ มี เทคนิคแบบยุคสมัยใหม่ มี จุดประสงค์เพื่อควบคุมความคิดและร่างกายของมนุษย์โดยผ่านกลยุทธ์อันซับซ้อนและแนบเนียน มี เครื่องมือที่เรียกว่า “ระเบียบวินัย” มาขับเคลื่อนจนเกิดเป็นอำนาจมาควบคุมเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิด และร่างกายที่ว่านอนสอนง่าย สยบยอม และมีประโยชน์ (จารุณี วงศ์ละคร, 2561) “การปกครองชีวญาณ” เป็นการปกครองที่ทำให้เกิดพลังที่เกิดจากอำนาจในการ ยอมรับระบบความจริงบางอย่างเกี่ยวกับบุคคลแล้วนำอำนาจที่เกิดจากการยอมรับความจริงนั้นจน เกิดเป็นจิตสำนึกและมีจิตใจตนเองมาควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ดังเช่นพลเรือนซึ่งเดิมมีสภาพ ร่างกายที่ยังไม่พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เข้ามาฝึกฝนเป็นทหารจนมีสภาพร่างกายมีความแข็งแรง มี จิตวิญญาณที่มีความพิเศษเฉพาะด้าน จึงต้องมีกระบวนการที่ฝึกฝนจนเป็นคนใหม่ โดยมีกระบวนการ สร้างอำนาจมาบังคับโดยผ่านกระบวนการที่มีขั้นตอน ระเบียบ การปฏิบัติ การลงโทษ จนบรรลุ เป้าหมาย ซึ่งอำนาจในรูปแบนี้เป็นอำนาจที่มีพลังจากการยอมรับบางอย่างโดยการใช้ระบบอำนาจมา บังคับจนทหารเกณฑ์ยอมรับโดยชอบธรรม นั้นคือ นำระบบการฝึกทหารใหม่ผ่านชุดความรู้ที่ครูฝึก มอบหมายให้ปฏิบัติตามหากไม่ปฏิบัติตามที่ใช้อำนาจในการลงโทษ เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง หรือเป็นการใช้อำนาจที่มีเทคนิควิธีการเชื่อมโยงการปกครองชีวญาณกับความคิดอำนาจชีวญาณการ ปกครองชีวญาณ (อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ & กนกวรรณ ธราวรรณ, 2558) ประกอบด้วย 1) โดยผ่าน “การฝึก” อันมีวาทกรรมผ่านเทคนิควิธี อย่างเป็นระบบ ปฏิบัติตาม คำสั่ง การกระทำการซ้ำๆตามตารางฝึก หรือที่เรียกว่า (รปจ.) ซึ่งมีการแบ่งซอยเวลา ย่อยๆ จัดการ เวลาจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง ทั้งการฝึก การปฏิบัติ หรือการลงโทษจากการทำผิด ตามคำสั่ง ตาม ตาราง ดังกล่าวอยู่ในเวลาเดียวกันจนทหารเกณฑ์ผู้รับการฝึกปฏิบัติจนร่างกายตอบรับโดยอัตโนมัติ ภายใต้จิตสำนึก ซึ่งการฝึกดังกล่าวนี้ทำให้มีผลเมื่อเวลาออกไปปฏิบัติหน้าที่จริงเพราะบางสถานการณ์ ต้องทำตามคำสั่งทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ร่างกายจะตอบรับเป็นลักษณะพฤตินิสัยติดตัวหรือที่เรียกว่าได้ สถาปนา "ร่าง” ขึ้นมาใหม่ อันเป็น “ร่าง” ที่มีระเบียบวินัยและพร้อมใช้งาน “เป็นทรัพย์สินทาง ชีวภาพ” ในสถานการณ์รบในทางทหาร (อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ & กนกวรรณ ธราวรรณ, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3