การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

28 2) โดยผ่านการทำให้เกิด “ความกลัว” จากการถูกลงโทษซึ่งเกิดจากการต่อต้าน เช่น การไม่ยอมรับโดยปริยาย ขัดขืนคำสั่ง หรือ ไม่ต้องการรับการฝึก โดยผ่านการ “ซ่อม จวก ปรับปรุงวินัย หรือ ธำรงวินัย” ซึ่งการลงโทษดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่สถานเบา ไปหาหนัก และหนักที่สุด ซึ่งเป็นการเพื่อรักษาอำนาจการปกครองนั้นไว้ผ่าน “ชุดความรู้ของความเป็นทหาร”โดยมีความ เชื่อมโยง กับเนื้อหาเกี่ยวกับความสมรรถภาพร่างกายนักรบที่จะเข้ารับการฝึก อำนาจด้านบวกในทาง สร้างสรรค์ ความเข็มแข็งของบุรุษเพศทหาร ใส่ไปในผู้รับการฝึก มีตั้งแต่การลงโทษเฉพาะส่วนตัวไป จนถึง “การลงโทษแบบเหมารวม” ซึ่งการกระทำแบบเหมารวมนั้นเป็นการใช้อำนาจในรูปแบบหนึ่ง โดยที่คนใดคนหนึ่งอาจจะกระทำผิดระเบียบแต่คนอื่นต้องรวมกันรับโทษจากการกระทำนั้นด้วย ซึ่งจะ ทำให้เกิด “การปกครองด้วยกันเอง” คือทุกคนในกลุ่มทหารเกณฑ์จะพยายามสอดส่องดูแลระเบียบ ตัวเองและระเบียบของผู้อื่นไม่ให้เกิดการฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้เกิดการเสียสละ มีความสามัคคี ความเห็นแก่ตัวจะน้อยลง ภาวะความเป็นผู้นำจะเพิ่มขึ้น ถึงแม้การลงโทษดังกล่าวจะเป็นการลงโทษ ที่ใช้อำนาจในด้านลบ เป็นการ กดขี่ บังคับ แต่ในอีกด้านหนึ่งเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ถูกลงโทษคือต้องมี การเรียนรู้หาวิธีการไม่แหกกฎ ข้อห้าม ระเบียบต่างๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ทหารเกณฑ์สามารถปกครอง ด้วยกันเองได้ การลงโทษดังกล่าวจึงเป็นเพียงสิ่งเร้า กระตุ้น ให้ทหารเกณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการฝึกไม่ คิดที่จะกระทำผิดกฎและทำให้การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นเรื่องอยู่ภายใต้จิตสำนึกจนเป็นเป็น ภาวะปกติ (อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ & กนกวรรณ ธราวรรณ, 2557) 2.3.1.2 ร่างกายใต้บ่งการ “ร่างกายใต้บงการ” เป็นกระบวนการที่เข้ามาแทรกซึมในชีวิตประจำวันของ มนุษย์โดยผ่านองค์การทางสังคม จนกลายเป็นอำนาจในการควบคุมมนุษย์โดยที่ไม่รู้ตัวโดยมีกรรมวิธี (วีระชล บางศิริ & สุริยะ หาญพิชัย, 2563) ดังนี้ 1) เทคนิคการจัดแยกเป็นสัดส่วน เริ่มต้นด้วยการปิดล้อมพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่ที่ถูก กำหนดไว้เช่น โรงเรียนประจำ ค่ายทหาร ฯลฯ ต่อมาคือการกำหนด กฎ ระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการ ควบคุม ประเมินผล เช่น ในโรงงาน ต่อมากำหนดสถานะตำแหน่ง เช่น หัวหน้า รองหัวหน้า ซึ่งมีการ ปลูกฝังใช้มาตั้งแต่โรงเรียน ประถม มัธยม เพื่อกำหนดหน้าที่ อำนาจและบทบาทในสังคมนี้ใช้นิยาม ด้วยคำว่า “ระเบียบวินัย” 2) การควบคุมกิจกรรม เป็นการควบคุมผ่านการกระทำโดยอาจจะมีการจัดการ เป็นตารางเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นการปฏิบัติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันทำให้มนุษย์มีความเชื่อถือ และยอมปฏิบัติตามได้มาเป็นวัตถุดิบในการควบคุมอำนาจจนมนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธได้ถ้าไม่ปฏิบัติ ตามจะถือว่าเป็นความผิดต่อบริบทของสังคมนั้น เช่น ห้ามส่งเสียงดัง ห้ามนำอาหารเข้ามาทาน ฯลฯ 3) การจัดระเบียบให้แก่กระบวนกำเนิด โดยเริ่มจากการแบ่งระยะเวลาไปตาม ขั้นตอนที่ได้กำหนดโดยจะข้ามขั้นตอนไม่ได้ ต่อมาก็ปฏิบัติลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องตลอดมา มีการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3