การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

33 แบบ ก็ให้ออกกำลังกายหนักๆ ในท่าต่างๆ เป็นท่าให้เหนื่อย ท่าให้เจ็บ มีหลายๆ ท่า ก็เหมือนการฝึก ความอดทนไปในตัวด้วย (คำสัมภาษณ์นักเรียนเตรียมทหาร) 2) ประสบการณ์ความยากลำบาก หลักสูตรการเรียนโรงเรียนเตรียมทหารนั้นมี การเรียนกับการฝึกควบคู่กันไปซึ่งตลอดระยะเวลาตลอดหลักสูตรแต่ละชั้นปีการฝึกหนักเบาไม่เท่ากัน ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวนอกจากความยากลำบากที่เกิดจากการฝึกแล้วความยากลำบากที่เกิดจาก การธำรงวินัยสะสมบ่มเพาะให้นักเรียนเตรียมทหารมีความอดทนเข้มแข็ง เติบโตมากขึ้นไปด้วยด้วย ยกตัวอย่างคำสัมภาษณ์นักเรียนเตรียมทหารคนหนึ่งในงานวิจัย“ระยะเวลาที่ผ่านไปจนสามปี มันก็ เป็นสิ่งที่แต่ละปีก็จะมีอะไรให้เราทำกำหนดมาเลย ให้เราทำ เพื่อพัฒนาความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่งของเรา ด้วยปัจจัยเวลาและปัจจัยที่เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เขากำหนดมาให้เราทำ มันก็ค่อยๆ ทำให้เราเติบโต มีความแข็งแกร่ง มากขึ้นเรื่อยๆ” (คำสัมภาษณ์นักเรียนเตรียมทหาร) 3) สิ่งที่งอกงามจากการฝึกเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดระยะการฝึกความ อดทนทำให้นักเรียนเตรียมทหาร มีความเข้มแข็งทางกาย มีความอดทนอดกลั้น มีบุคลิกภาพที่ดี มี ภาวะความเป็นผู้นำ มีอุดมการณ์ มีมิตรภาพที่ดี ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ความยากลำบากที่ได้เผชิญมาจากการฝึก สรุป จากแนวความคิดความเข้มแข็งดังกล่าวซึ่งใช้ในการฝึกนักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งมีบริบทของการฝึกและวัตถุประสงค์ในการที่จะผลิตบุคคลซึ่งไปทำหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง ของประเทศของทหาร หรือความสงบเรียบร้อยภายในของตำรวจ ก็มีความคล้ายกับการฝึกนักเรียน นายสิบตำรวจดังนั้นความเข้มแข็งที่เกิดจากความยากลำบากในการฝึก ซึ่งการที่จะมีความเข็มแข็ง และอดทนนั้นจะต้องมีการฝึกสะสมบ่มเพาะเป็นระยะช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชิน จากประสบการณ์ดังกล่าวบ่อยๆเพื่ อที่ จะเรียนรู้ การบริหารความเครียดจนสามรถควบคุมให้ สถานการณ์สู่ภาวะปกติ หรือสามารถควบคุมสถานการณ์ความเครียดนั้นได้ จนเกิดเป็นบุคลิกภาพที่ เข้มแข็งอดทน (Hardy Personality) เพื่อนำบุคลิกดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ในอนาคต ซึ่ง กาธำรงวินัยเป็นการฝึกเพื่อบ่มเพาะควาอดทนวิธีหนึ่ง โดยการอาศัยการกระทำผิดวินัยมาเป็นเหตุผล ให้ลงโทษออกกำลังกายให้เกิดความเหนื่อยล้าที่สุดใน สภาวะที่ร้อน หิว หรือ ง่วง เพื่อให้เป็น ประสบการณ์ก่อให้เกิดความอดทนดังกล่าว ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจ 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับหลักความยินยอมในทางอาญา 2.4.1 หลักความยินยอมในทางอาญา ตามหลักสูตรการฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจนั้นวัตถุประสงค์ตามภารกิจเพื่อให้ออกไป ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก ดังนั้นนอกจากความรู้ทางด้าน กฎหมาย หรือความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ แล้วสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และจิตใจก็ต้องมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3