การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 ความพร้อมด้วย ดังนั้นการฝึกจึงต้องมีความเข้มข้นทั้งทางด้าน เสริมความแข็งแรงของร่างกาย จิตใจ ในการทำงานปกติ หรือเสริมความพร้อม ทักษะทางด้านร่างกาย ในด้านยุทธวิธี การฝึกอาจจะเกิดการ บาดเจ็บ ของร่างกาย หรือกระทบกระทั้งทางด้านจิตใจบางก็เป็นเรื่องปกติ เพราะนักเรียนนาย สิบ ตำรวจก็ต้องยอมรับยินยอมรับการฝึกให้ได้ แต่ความยินยอมดังกล่าวก็ต้องมีขอบเขตที่เหมาะสมตาม จารีตประเพณีหรือวิญญูชนของการฝึกในระดับนักเรียนนายสิบตำรวจ ซึ่ งแน่นอนเมื่อกล่าวถึง ผลกระทบที่เกิดจากความยินยอมดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อ ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ ก็ตามหากเกิ น ขอบเขตถือว่าเป็นการละเมิดต่อสิทธิที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา 2.4.1.1 แนวคิดและความหมายหลักความยินยอมในทางอาญา หลักความยินยอม (volentinonfitinjuria) คือ โดยปกติเมื่อบุคคลหนึ่ งมีการ กระทำละเมิดต่อบุคคลใดแล้วเกิดความเสียหายขึ้น กฎหมายถือว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิด กฎหมาย แต่หากบุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้นยินยอมให้กระทำการดังกล่าวนั้นได้ หย่อมทำให้การ กระทำนั้นไม่เป็นละเมิด และให้ถือว่าไม่มีความเสียหายจากการกระทำนั้น ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำที่ตนให้ความยินยอมไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการที่จะนำหลักความ ยินยอมดังกล่าวมาใช้ในการที่จะยกเว้นไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายซึ่งทำให้การกระทำนั้นชอบด้วย กฎหมายทุกกรณีไม่ได้ ต้องพิจารณาด้วยว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆมุ่งเพื่อคุ้มครองสิ่งใดหาก กฎหมายนั้นมุ่งเพื่อคุ้มครองเฉพาะตัวผู้เสียหายอย่างเดียวในกรณีนี้เมื่อผู้เสียหายให้ความยินยอม หย่อมที่จะนำหลักการยินยอมดังกล่าวมาใช้ได้ แต่ถ้ากฎหมายมุ่งเพื่อคุ้มครอง สังคมหรือประชาชน ด้วยแล้วย่อมไม่สามารถนำหลักความยินยอมของผู้เสียหายเพียงอย่างเดียวมาทำให้การกระทำนั้นชอบ ด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ กล่าวคือ การนำหลักการยินยอมดังกล่าวมาใช้ในการที่จะไปขัดต่อความสงบ เรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ได้ (ภานุพงศ์ พงษาชัย, 2562) ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้อธิบายความหมาย“ความยินยอม” ไว้ว่า เป็นการ จงใจปล่อยให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่ทำการขัดขวางทั้งที่มีความสามารถที่จะเข้าขัดขวาง เหตุการณ์นั้นได้ ซึ่งเป็นการแสดงความประสงค์ที่จะให้เกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยแสดงออกด้วย การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยตนเอง หรือให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนเพื่อเป็นการแสดงเจตนา เพื่อให้ผู้กระทำการในเหตุการณ์นั้นให้เข้าใจว่าตนมีความประสงค์อนุญาตให้กระทำการนั้นได้ หรือใน กรณีพิเศษอย่างอื่นที่การนิ่งไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการแสดงออกถึงการไม่ขัดขวาง อาจถือได้ว่า เป็นความยินยอมเพราะเป็นที่เข้าใจกันโดยปกติทั่วไปว่าการนิ่งเช่นนั้นเป็นการยินยอมและ การแสดงออกซึ่งความประสงค์อันถือได้ว่าเป็นความยินยอมนั้นอาจแสดงออกโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้ อาจารย์พจน์ ปุษปาคม ได้อธิบายความหมาย“ความยินยอม” ไว้ว่า เป็นการที่ ฝ่ายผู้เสียหายให้กระทำการโดยความยินยอม ไม่ว่าจะกระทำต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อสิทธิอื่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3