การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

35 ใดของตนเอง ซึ่งความยินยอมดังกล่าวนั้นโดยแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นสิทธิของผู้กระทำให้กระทำได้ แต่ เป็นได้แค่ข้อแก้ตัวของผู้กระทำเท่านั้น อาจารย์เพ็ง เพ็งนิติ ได้อธิบายความหมาย“ความยินยอม” ไว้ว่า เป็นการที่ผู้เสีย หายให้ความยินยอมโดยสมัครใจหรือยอมเข้าสู่อันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายนั้น เช่น การกระทำ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นใดของผู้ถูกกระทำ ซึ่งการนิ่งเฉยไม่เข้าขัด ขวางไม่คัดค้าน หรือไม่ขัดขืนต่อการกระทำที่เป็นการประทุษร้ายนั้น หรือเป็นพฤติการณ์ที่ควรจะขัด ขวางคัดค้าน หรือห้ามปราบปรามได้ แต่ไม่ขัดขวาง ไม่คัดค้าน หรือไม่ห้ามปราบปรามแล้วแต่กรณี การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความยินยอมโดยปริยาย 2.4.1.2 หลักความยินยอมกับกฎหมายอาญา กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำหรือไม่กระทำการอย่างหนึ่ง อย่างใดนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วย เช่น ห้ามมิให้ฆ่าผู้อื่น ห้ามมิให้ทำ ร้ายร่างกายผู้อื่น หรือ เห็นผู้ใดตกอยู่ในอันตรายแห่งชีวิตและตนมีความ สมารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยจะ มีความผิด เป็นต้น (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2551) ซึ่งโดยหลักการใช้กฎหมายอาญานั้นจะต้องมีการ บัญญัติว่าการการะทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ในขณะกระทำความผิด โดยบัญญัติไว้โดย ชัดเจน และไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดแต่เป็นคุณได้ ตามหลักกฎหมายประมวล อาญามาตรา 2 ในประเทศไทย กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติตัวบทกฎหมายไว้โดยเฉพาะว่า ความ ยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดมีอำนาจกระทำได้ ส่วนในทางวิชาการ นัก นิติศาสตร์ยอมรับว่า “ความยินยอมไม่ก่อให้เกิดการละเมิด” หนังสือ หรือตำราเรียนกฎหมายอาญา ของไทยจึงให้การยอมรับว่า ความยินยอมของผู้เสียหาย เป็นเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้เหตุหนึ่ง (คณิต ณ นคร, 2554) โดยศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ให้ความเห็นว่า บทบัญญัติที่เป็นการลงโทษ บุคคลเท่านั้นที่จะต้องบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร แต่หลักกฎหมายที่ใช้สำหรับยกเว้นความผิดไม่ จำต้องบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร (พิณพลอย สุทินประภา, 2559) ความยินยอมเป็นเหตุยกเว้นความผิด หรืออำนาจกระทำ ( Justification) อยู่ใน โครงสร้างความรับผิดทางอาญาประการหนึ่ง ดังนั้น การพิจารณาบุคคลที่ได้รับความยินยอมจาก ผู้เสียหายในการกระทำการอันเป็นความผิดอาญา จะต้องมีความรับผิดในทางอาญาหรือไม่ต้อง พิจารณาถึงโครงสร้างความรับผิดทางอาญาเสียก่อน (อำนาจ บุบผามาศ, 2555) หมายถึงการกระทำ นั้นจะต้องครบตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาเสียก่อนหากไม่ครบก็ไม่ต้องมาพิจารณาถึง หลักการยินยอม เช่น คนนอนละเมอมือไปฟาดโดนผู้อื่นจะถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะ การกระทำไม่ครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด (โครงสร้างอาญา ในส่วนที่ 1) เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3