การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
36 การที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลใดกระทำความผิดอาญาหรือไม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือใน การวินิจฉัย และเครื่องมือดังกล่าวคือ “โครงสร้างความรับผิดทางอาญา” (ปกป้อง ศรีสนิท, 2559) ซึ่ง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนแรกการกระทำครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด หรือไม่ ส่วนที่สองการกระทำนั้นมีเหตุที่กฎหมายยกเว้นความผิดไว้หรือไม่ และส่วนสุดท้ายการ กระทำนั้นมีเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษไว้หรือไม่ ซึ่งการวินิจฉัยนั้นจะ พิจารณาตามโครงสร้าง กล่าวคือ พิจารณาว่าการกระทำของบุคคลนั้นครบองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้หรื อไม่ (โครงสร้างส่วนที่ 1) หากการกระทำนั้นครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ก็จะต้องพิจารณาต่อไป ว่า การกระทำดังกล่าวมีเหตุที่ทำให้ผู้กระทำไม่มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ (โครงสร้างส่วนที่ 2) ถ้าไม่ มีเหตุในส่วนที่สอง ก็ต้องพิจารณาต่อว่าการกระทำนั้นมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่(โครงสร้างส่วนที่ 3) หาก ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษก็หมายความว่า บุคคลนั้น จะต้องรับผิดในทางอาญา (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2551) 2.4.1.3 ความยินยอมของผู้เสียหายที่เกี่ยวกับโครงสร้างความรับผิดทางอาญา มี 2 กรณี 1. ความยินยอมของผู้เสียหายที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด 1.1 กฎหมายบัญญัติชัดแจ้งในองค์ประกอบของกฎหมายแม้ผู้เสียหายจะให้ ความยินยอม ผู้กระทำก็ยังคงมีความผิด เช่น ฐานกระทำชำเราเด็กที่อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ ภรรยาของตน มาตรา 277 ฐานกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี มาตรา 279 ฐานเป็นธุระจัดหา เพื่อการอนาจาร มาตรา 282 ฐานยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกมาตรา 301 และมาตรา 302 ฐาน พรากผู้เยาว์ มาตรา 317 และมาตรา 319 เป็นต้น 1.2 กฎหมายไม่ได้บัญญัติชัดแจ้งถึงความยินยอม แต่เห็นได้ว่าต้องเป็นการ กระทำที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายหากเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ความ ยินยอมโดยผู้เสียหายรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร การกระทำนั้นย่อมไม่เป็นความผิด เช่น หาก หญิงยินยอมให้ชายร่วมประเวณี ชายย่อมไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตามมาตรา 276 เป็น ต้น เพราะความยินยอมทำให้การกระทำของชายไม่เป็นการข่มขืนกระทำชำเรา เนื่องจากขาด องค์ประกอบความผิด นอกจากนี้ยังมีมาตรา 278 มาตรา 283 วรรคแรก และมาตรา 284 ความผิด ต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309 มาตรา 312 (2) และมาตรา 320 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 337 – 340 และมาตรา 341 1.3 กฎหมายไม่ได้บัญญัติชัดแจ้งในองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับความยินยอม แต่โดยสภาพเมื่อผู้เสียหายไม่ได้ให้ความยินยอมการกระทำนั้นจะเป็นความผิด เช่น การลักทรัพย์ ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์บุกรุก โกงเจ้าหนี้ ทำให้เสียทรัพย์เมื่อผู้เสียหายให้ความยินยอม จึงเป็นกรณี ขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิดอาญา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3