การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 2.ความยินยอมของผู้เสียหายที่ทำให้ผู้กระทำความผิดมีอำนาจกระทำได้ เป็น ความยินยอมที่ทำให้การกระทำที่ครบองค์ประกอบภายนอกและครบองค์ประกอบภายในไม่เป็น ความผิด โดยถือว่าความยินยอมเป็นเหตุยกเว้นการกระทำความผิด เช่น กรณีแพทย์รักษาโรคให้แก่ คนไข้โดยการผ่าตัดท้อง ตัดแขน ตัดขา ฯ การกระทำของแพทย์ครบองค์ประกอบภายนอกและครบ องค์ประกอบภายในของความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 อัน เป็นการกระทำโดยเจตนา แต่เมื่อคนไข้ให้ความยินยอม ย่อมเป็นเหตุยกเว้นความผิดให้แก่แพทย์ หรือ การแข่งขันกีฬาของนักกีฬาชกมวยซึ่งมีการชกต่อยกันตามกติกาถือว่ายินยอมให้ทำร้ายซึ่งกัน และกัน ซึ่ งความยินยอมในลักษณะดังกล่าวเป็นความยินยอมที่ยกเว้นความผิดให้แก่ผู้กระทำ เช่นเดียวกับการกระทำโดยป้องกัน ตามมาตรา 68 ยกเว้นความผิดให้กับผู้กระทำซึ่งความยินยอมที่จะ ยกเว้นความผิดได้ (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, 2551) ทั้งสองกรณีหากความยินยอมของผู้เสียหายเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ ของความผิด เมื่อผู้เสียหายให้ความยินยอม การกระทำนั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดองค์ประกอบ ภายนอกของความผิด แต่หากความยินยอมของผู้เสียหายทำให้ผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำการนั้น ได้ การกระทำนั้นก็จะไม่มีความผิด (พิณพลอย สุทินประภา, 2559) ทั้งสองกรณีผลทางกฎหมายของ ความยินยอมนั้นจึงมีความแตกต่างกัน แต่กรณีที่ 2 นั้นการยินยอมนั้นต้องไม่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การยินยอมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน 2.4.1.4 ลักษณะและหลักเกณฑ์ความยินยอมทางอาญา ศาลฎีกาก็ได้วางหลักเป็นบรรทัดฐานไว้ ในฎีกาที่ 1403/2508 มีใจความสำคัญ ดังนี้ “มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาอยู่ว่า ความยินยอมอัน บริสุทธิ์ของ ผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความ สำนึกในศีลธรรมอันดี และมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น แล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508) หลักฎีกาดังกล่าวข้างต้น ใช้คำว่า “หลักกฎหมายทั่วไป” ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ โดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ทั้งนี้เพราะเป็นการนำมาใช้เพื่อเป็นคุณแก่ผู้กระทำ กล่าวคือเพื่อ “ยกเว้นความผิด” ให้แก่ ผู้กระทำนั่นเอง หรือที่ผู้ให้ความยินยอมนั้นไม่ทราบถึง เช่น นักกีฬาแข่งขันชกมวยก็ต้องยินยอมให้มี การทำร้ายร่างกายกันได้ตามปกติของการเล่นกีฬาชนิดนั้น แต่มิได้รวมไปถึงว่ายินยอมให้มีการเล่น นอกเหนือจากกติกาได้ หรือผู้ที่กินอาหารโดยสมัครใจที่ผู้อื่นปรุงให้โดยผู้นั้นยอมกินอาหารที่ผสมยา พิษในอาหารนั้นด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3