การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 จากหลักเกณตามคำพิพากษาฑ์ดังกล่าวหลักความยินยอมทางอาญาประกอบด้วย 3 ประการ ดังนี้ คือ 1) ความยินยอมนั้นต้องมีอยู่อย่างน้อยในขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็น ความผิด หมายถึง ในขณะที่การกระทำความผิดที่กฎหมายได้บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ (หลักประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2) นั้นต้องมีการยินยอมในขณะการะทำ ความผิดนั้นด้วยหากมีการยกเลิกความยินยอมเกิดขึ้นแล้วถือว่าการกระทำหลังจากนั้นมีความผิด จะ นำหลักการยินยอมมาเป็นเหตุให้ยกเลิกความผิดไม่ได้ 2) ความยินยอมนั้นต้องเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์ หมายถึง การยินยอมนั้น ต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจของผู้ให้ความยินยอม (คณิต ณ นคร, 2554) ไม่ได้เกิดจากการโดน หลอกลวง โดนข่มขู่บังคับขู่เข็ญ หรือสำคัญผิดในข้อเท็จจริง เป็นต้น 3) ความยินยอมนั้นต้องไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอัน หมายถึง ความ ยินยอมนั้นต้องอยู่ในความรู้สึกของบุคคลทั่วไปที่จะรับได้กับเหตุการณ์นั้นในแต่ละบริบทของสังคม เช่น ความยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาโดยการผ่าตัดร่างกาย (การผ่าตัดร่างกายถือว่าเป็นการทำร้าย ร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา) ความยินยอมที่เกิดจากการเล่นกีฬา เช่น ชกมวย แข่งฟุตบอล ยูโด อาจได้รับบาดเจ็บจากการแข่งขันดังกล่าวซึ่งการกระทําความผิดอาจจะยกเอาความยินยอมของ ผู้เสียหายมาเป็นข้อยกเว้นความผิดได้ เป็นต้น ความยินยอมทางอาญาจะมีแตกต่างจากความยินยอมทางแพ่ง ความยินยอมทาง แพ่งถือว่าความยินยอมนั้นก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทำให้เกิดนิติกรรมขึ้น ส่วนความยินยอมทางอาญาเป็น การสละคุณธรรมทางกฎหมายที่คุ้มครองตัวผู้ให้ความยินยอมนั้นหรือตัวผู้เสียหายในทางอาญานั้นเอง ความยินยอมของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องของการที่ผู้เสียหาย “สละคุณธรรม ทางกฎหมาย” (Rechthgut) ที่คุ้มครองตนเอง จึงเป็นเรื่องทีเกี่ยวกับ “การกระทำของผู้เสียหายเอง” ไม่เกี่ยวกับ “ผู้กระทำต่อผู้เสียหาย” (ตรีพล เกตุสุริยา, 2558) “คุณธรรมทางกฎหมาย” (Rechthgut) มี 2 ประเภท “คุณธรรมทางกฎหมายที่ เ ป็ น ส่ ว น ร ว ม ” ( Universalrechthut) แ ล ะ “ คุ ณธ ร ร มท า ง ก ฎ ห ม า ย ที่ เ ป็ น ส่ ว น ตั ว ” (Individualrechthut) ซึ่งคุณธรรมทางกฎหมายที่ผู้เสียหายสามารถสละได้เฉพาะ“คุณธรรมทาง กฎหมายที่เป็นส่วนตัว” (Individualrechthut) เท่านั้น ส่วน“คุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนรวม” (Universalrechthut) ไม่สามารถสละได้ (คัทราวดี สีทอง & สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, 2558) 1) “คุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนรวม” (Universalrechthut) เป็นกฎหมายที่ มุ่งจะคุ้มครองและรักษาความสงบ และความยุติธรรมของสังคม เช่น กฎหมายแรงงาน เป็นต้น 2) “คุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนตัว” (Individualrechthut) ได้แก่เรื่องที่ เกี่ยวกับส่วน บุคคล เช่น ชีวิตร่างกาย ทรัพย์ สิทธิส่วนบุคคลต่างๆ แต่ก็ต้องคำนึงถึงไม่ก่อให้เกิดผล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3