การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
39 ต่อสังคมด้วย เช่น ความผิดฉ้อโกงธรรมดา (ม.341) หรือข่มขืนกระทำชำเรา (ม.276 วรรคแรก) เป็น เรื่องส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นความผิดฉ้อโกงประชาชน ขมขืนกระทำชำเราต่อหน้าธารกำนัล กฎหมาย ไม่ได้คุ้มครองแค่ส่วนบุคคลแต่อย่างเดียงแต่ยังกล่าวถึงสังคมด้วยอันนี้ไม่สามารถนำเรื่องสละคุณธรรม ทางกฎหมายมาใช้ได้ “ส่วนความปลอดภัยในร่างกาย” ก็ถือได้ว่าเป็นคุณธรรมทางกฎหมายที่เป็น ส่วนตัว แต่มีข้อจำกัดว่าการสละนั้นต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนชน เช่น การกระทำให้ ได้รับอันตรายถึงสาหัส หรือ ถึงแก่ชีวิต อันนี้ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อหลักศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งนักนิติศาสตร์บางท่านให้ความเห็นว่าการยินยอมดังกล่าวกระทำไม่ได้ โดยยึดหลักความเป็น อันตรายต่อสังคม (Social harms) (พิณพลอย สุทินประภา, 2559) จากแนวคิดเกี่ยวกับหลักการยินยอม และหลักความยินยอมในทางอาญานั้น นักเรียนนายสิบตำรวจในฐานะผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยความสมัครใจเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเมื่อ เข้ามาทำการฝึกอบรมแล้ว ในบริบทของการฝึกนักเรียนนายสิบตำรวจ จะต้องมีการฝึกเสริมสร้างใน ทางด้าน ร่างกายและจิตใจ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งพร้อมที่จะไปออกปฏิบัติหน้าที่ในอนาคต ก็ต้องมี การกระทบกระทั่ง และอาจเกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย หรือจิตใจได้ซึ่งเป็นผลธรรมดาที่หย่อมจะ เกิดขึ้นได้จากการฝึก ซึ่งการสมัครใจเข้ารับการฝึกดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการสละเจตนาทางกฎหมาย ยินยอมให้ครูฝึกออกคำสั่งและพร้อมจะปฏิบัติตามซึ่งเป็นจารีตประเพณีในการฝึก แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หากเป็นกรณีที่สามารถเล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดอันตรายถึงชีวิต หรือบาดเจ็บอย่างสาหัส ตัวผู้ทำหน้าที่ ฝึกหรือครูฝึกจะอ้างยกเว้นความผิดโดยใช้หลักการยินยอมทางอาญานั้นไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อ กฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ซึ่งการธำรงวินัยเพื่อเป็นการรักษาระเบียบในระหว่างการฝึกก็ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกเช่นกัน 2.4.2 ความรับผิดในทางอาญากับความรับผิดเกี่ยวกับละเมิดในทางแพ่ง ในกรณีที่มีการธำรงวินัยเกินขอบเขตและขัดกับหลักความยินยอมในทางอาญา จนเป็นเหตุให้นักเรียนนายสิบตำรวจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ แน่นอนการกระทำ ดังกล่าวหากครบองค์ประกอบตามโครงสร้างความรับผิดอาญาบุคคลก็ต้องรับโทษทางอาญา ไม่ว่าจะ เป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิต เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย กระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 290 และ มาตรา 291 ความผิดเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย เช่น ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส หรือ กระทำ การประมาทจนให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มาตรา 297 มาตรา 300 เป็นต้น ซึ่งต้องรับโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ตามประมวล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3