การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
40 กฎหมายอาญา มาตรา 18 และอาจยังต้องรับผิดในทางแพ่งเกี่ยวกับกับเรื่องของการละเมิดอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อ บุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ความหมายของการกระทำละเมิดนั้น มีนักกฎหมายได้ให้ความหมายเอาไว้ เช่น ศาสตราจารย์ ดร.วารี นาสกุล “ละเมิด ได้แก่ การกระทำหรือเหตุการณ์ ที่ ก่อให้เกิดความเสียหาย ละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่างหนึ่ง คือ ก่อนมีการละเมิดยังไม่มีหนี้เกิดขึ้น เมื่อมีการละเมิดแล้วจึงมีหนี้เกิดขึ้นดังที่เรียกกันว่า เป็นหนี้ที่เกิดโดยผลของกฎหมายมิใช่ โดยเจตนา ก่อหนี้” (วารี นาสกุล, 2544) ศาสตราจารย์ ดร.จี๊ด เศรษฐบุตร “ละเมิดเป็นกรณีที่มีการกระทำอันทำ ให้ เกิดความเสียหายแก่เอกชน เป็นเหตุให้ผู้กระทำถูกบังคับให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น ทั้งนี้ นอกขอบเขตการกระทำที่เนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามหนี้ในสัญญา” รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล “ละเมิด (torts) เป็นการกระทำให้ผู้อื่น เสียหาย ล่วงสิทธิของผู้อื่นโดยปราศจากอำนาจ หรือเกินกว่าอำนาจที่ตนมีอยู่ ทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับ ความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีกฎหมาย รับรองและคุ้มครองอยู่” กฎหมายละเมิดได้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ในรู ปของค่ าสิ นไหมทดแทน ให้ แก่ ผู้ ที่ ต้ องสู ญเสี ยและได้ รั บความเดื อดร้ อนจากการถูก กระทบกระเทือนต่อสิทธิปัจเจกบุคคล หรือได้รับอันตรายแก่กาย จิตใจ หรือทรัพย์สินของผู้นั้น และ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศมีหลายกรณีพบว่า ศาลต่างประเทศมักจะใช้กฎหมายละเมิด เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการสร้างบรรทัดฐานทางสังคม (กิตติบดี ใยพูล, 2561) ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย บัญญัติเรื่องความรับผิดทางละเมิด ไว้ตามมาตรา 420-437 (ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์) โดยแบ่งเป็น 1. ความรับผิดเพื่อละเมิดจากการกระทำของตน 2. ความรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้อื่น และ 3. ความรับผิดเพื่อละเมิดจากความเสียหายของทรัพย์สิน โดยบทบัญญัติของกฎหมายนั้นได้วางตามหลักศีลธรรมข้างต้น ทั้งนี้เพื่อให้บุคคล มีความรับผิดชอบต่อปัจเจกชนที่ตนไปกระทำให้เขาได้รับความเสียหาย เช่น รับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนต่อความเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆที่ตนกระทำต่อ การกระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้นมี ความทับซ้อนกันระหว่างความรับผิดทางอาญา กับความรับผิดทางแพ่ง หรืออาจเรียกในส่วนอาญาว่า “ประทุษร้ายทางอาญา” และเรียกในส่วนแพ่งว่า “ประทุษร้ายทางแพ่ง” โดยที่มาตรา 424 ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3