การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
44 2.5.2 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.5.2.1 ความหมายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคําว่า “ศักดิ์ศรี” (dignity) หมายถึง เกียรติศักดิ์ ส่วนคําว่า“เกียรติ” หมายถึง ชื่อเสียง การยกย่องนับถือความมีหน้ามี ตาและคําว่า“ศักดิ์” หมายถึง อํานาจความสามารถ กําลัง ฐานะความหมายเหล่านี้สอดคล้องกับ ความหมายของคําว่า “dignity” ในภาษาอังกฤษ คํ าว่ า “dignity” ในภาษาอั งกฤษซึ่ งมี รากศัพท์มาจากภาษาโรมัน คํ าว่า “dignitas” ในสมัยโรมันคําว่า “ศักดิ์ศรี” (dignitas) หมายถึง เกียรติส่วนบุคคลที่สาธารณะให้ หรือ การที่บุคคลนั้นได้รับเกียรติจากสังคม ดังนั้นคำว่า “ศักดิ์ศรี” จึงไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล แต่หมายถึง ตัวเฉพาะบุคคลที่สังคมให้ระดับชั้นทางการเมืองหรือทางสังคม ( political or social rank) รวมถึง อาจมาจากการยอมรับของประชาชนในความสําเร็จส่วนบุคคลหรือความมีศีลธรรมที่สูงส่งของบุคคล นั้น การยอมรับสถานะของ “ศักดิ์ศรี” ของบุคคลเช่นนี้จึงก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่นที่จะต้องให้ ความเคารพและให้เกียรติบุคคลผู้มีศักดิ์ศรีดังกล่าว (ไชยันต์ กุลนิต, 2557) ส่วนศาสนาคริสต์ เข้าใจ คําว่า“ศักดิ์ศรี”เกี่ยวข้องกับความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า เพราะพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ ขึ้นมาตามความประสงค์ของพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้ให้ศักดิ์ศรีแก่มนุษย์ทุกคนจึงมีความเสมอภาคกัน ในสายตาของพระเจ้า มนุษย์นั้นจึงมิอาจทําลายหรือพรากศักดิ์ศรีของบุคคลอื่นหรือแม้กระทั่งของ ตัวเองได้ และโดยที่รัฐเกิดจากการรวมตัวกันของมนุษย์รัฐซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ สถาปนาขึ้นจึงไม่อาจอาจ อยู่เหนือมนุษย์โดยปราศจากเงื่อนไขในหมู่มนุษย์ด้วยกัน มนุษยจึงไม่อาจปฏิบัติต่อกันในทางที่เป็นการ ลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ได้ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2562) ทั้งนี้ คุณค่าของมนุษย์นั้นมีความเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์โดยใน ฐานะมนุษย์ทุกคนได้รับคุณค่าความเป็นมนุษย์ จากความหมายคำว่า “ศักดิ์ศรี” จากการศึกษา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนา ยังไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจในทางหลัก กฎหมาย ดังนั้นให้ความหมายคำว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นเป็นมนุษย์”ในปัจจุบันจึงยังไม่มีนักวิชาการ ทางกฎหมายที่จะให้บทนิยามได้อย่างแน่ชัด แต่อาจกล่าวได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสารัตถะอัน เป็นรากฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจึงจะต้อง ย้อนไปศึกษาประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดของการพูดถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยศึกษาในเชิง เปรียบเทียบ เช่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมันเพราะเยอรมันเป็นประเทศที่ บัญญัติ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ไว้ในมาตราแรก และได้มีการพัฒนามาโดยตลอดเกี่ยวกับเ รื่อง ดังกล่าว และมีส่วนโครงสร้างในทางเนื้อหาคลายกับรัฐธรรมนูญของไทย (พิสิษฐ์ เหล่าศิริรัตน์, 2558)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3