การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
45 2.5.2.2 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รับรองในรัฐธรรมนูญต่างประเทศ ในต่างประเทศมีการกล่าวเกี่ ยวกับศักดิ์ ศรีและเสรีภาพความเป็นมนุษย์ใน รัฐธรรมนูญที่สำคัญอยู่ 2 ประเทศ คือประเทศเยอรมัน และประเทศแอฟริกาใต้ ในประเทศเยอรมัน สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1944 - 1945) มีการกระทำทารุณโหดร้ายต่อชาวยิวของทหารนาซีที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ เช่น โกนหัวผู้หญิงเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ฉีดสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การนำชาวยิวเข้าห้องร่มแก๊สพิษ คาดว่ามีชาวยิวเสียชีวิตจากในเหตุการณ์ดังกล่าวประมาณ 6 ล้านคน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกกับการกระทำที่เกิดขึ้น จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 1949 โดยมีการบัญญัติไว้ในมาตราแรก ในรัฐธรรมนูญ ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่มิอาจล่วง ละเมิดได้ เป็นภาระหน้าที่ของรัฐที่จะต้องให้ความเคารพและให้ความคุ้มครองต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เป็นการแสดงเจตนาของประเทศเยอรมันถึงการเคารพและคุ้มครองต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ให้ เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวต่อชาวยิวอีกต่อไป (วรพชร จันทร์ขันตี, 2564) ส่วนในประเทศแอฟริกาใต้นั้นในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลใน ประเทศในลักษณะที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน โดยมีการลงโทษที่รุนแรงหากมีการฝ่าฝืน ต่อชนชาวผิวดำ เหมือนมิใช่เป็นมนุษย์ เช่น ห้ามมิให้อยู่อาศัยปะปนกับชนชาวผิวขาว ห้องน้ำสาธารณะของชนชาวผิว ขาวชนชาวผิวดำเข้าไม่ได้ การศึกษาของชนชาวผิวดำแทบไม่ได้รับโอกาสเลย (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2562) สถานที่บางสถานที่มีการกำหนดไว้สำหรับชนชาวผิวขาวคนผิวดำไม่สามารถเข้าไป ได้ พื้นที่ที่ได้รับสาธารณูปโภค เขตเมืองใหญ่ที่มีการเป็นอยู่ที่ดีจะได้รับการจัดสรรให้กับชนชาวผิวขาว เท่านั้น การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทรัพยากรในประเทศก็ถูกสงวนไว้กับชนชาวผิวขาวชนชาวผิวดำ เป็นได้แค่แรงงานราคาถูกและไม่มีสิทธิต่อรองค่าแรงได้ ชนชาวผิวดำจะถูกบังคับให้อยู่ในพื้นที่ “สงวน” เพื่อไปขายแรงงานราคาถูกในพื้นที่ชนชาวผิวขาวซึ่งการที่จะผ่านเข้าออกในพื้นที่นี้จะต้องมี “บัตรผ่าน” หากไม่มีก็ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้รัฐบาลต้องการกักบริเวณเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายที่ อยู่หรือให้อยู่เฉพาะที่อนุญาตให้อยู่ได้ (กรรณิการ์ จันทร์แสง, 2564) การกระทำดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกชนชาวผิวขาวกับชนชาวผิวดำอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งต่อมา ได้มีการบันทึกในรัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ.1993 ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในหมวดหนึ่ง ข้อ แรกว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นคุณค่าที่ต้องยึดถือ” มีนักวิชาการได้อธิบายถึงความหมาย “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ไว้ เช่น Guenter Duerig นักกฎหมายชาวเยอรมัน อธิบาย คำว่า “ ศักดิ์ศรี” ในหนังสือ “Grundgesetz-Kommentar” ว่า มนุษย์ทุกคนเป็นมนุษย์โดยอำนาจแห่งจิตวิญญาณของตนเอง และมีอำนาจที่จะกำหนดตนเองและการสร้างสภาพแวดล้อมของตนเองด้วย การตัดสินใจของตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3