การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46 Klaus Stern ได้สรุปสาระสำคัญของ “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ไว้ใน Das Staatsrecht der Bundesrepublink Deutschland ว่าหมายถึง คุณค่าอันมีลักษณะเฉพาะ และ เป็นคุณค่าที่มีความผูกพันอยู่กับความเป็นมนุษย์ซึ่งบุคคลในฐานะที่เป็นมนุษย์ทุกคนได้รับคุณค่า ดังกล่าวโดยไม่จำต้องคำนึงถือเชื้อชาติศาสนา วัย หรือคุณสมบัติอื่นๆ ของบุคคล ในความหมายนี้ “ศักดิ์ศรี” จึงหมายถึงลักษณะบางประการที่สร้างออกมาเป็นคุณค่าเฉพาะตัว ของมนุษย์อันเป็น สารัตถะในการกำหนดความรับผิดชอบของตนเอง และเป็นสารัตถะที่มนุษย์ แต่ละคนไดรับเพื่อเห็น แก่ความเป็นมนุษย์ของบุคคลนั้นด้วย ศาสตราจารย์ ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ ได้ให้ความหมาย “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” หรือ (human dignity) หมายถึง เป็นคุณค่าที่มีอยู่ในความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่มีผล ผูกพันอยู่ในความเป็นมนุษย์ โดยไม่จำกัดเงื่อนไขใดๆ เพื่อให้มนุษย์มีอิสระในการรับผิดชอบและ พัฒนาตนเอง โดยสารัตถะของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิใน ความเสมอภาค หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมนุษย์ทุกคนมีความชอบธรรมที่จะปกป้องรักษาชีวิต ร่างกาย หรือสิทธิของตนเองไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะมีความแตกต่างกันในด้านใดๆ ก็ตาม ซึ่ งหาก เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายเยอรมันแล้วศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญ การใช้อำนาจของรัฐต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรัฐมีหน้าที่ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของคนในชาติ หากบุคคลใดหรือรัฐเองไปลิดรอนหรือละเมิดในสิทธิ (ลดคุณค่า)ความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญ บุคคลนั้นสามารถใช้สิทธิเรียกร้องต่อศาลได้ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2562) จากแนวคิดในการในเรื่อง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” นั้นเป็นแนวคิดที่เกิดจาก การคุ้มครองการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันจากการลดคุณค่าในตัวของมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ที่ต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครองที่สำคัญประกอบด้วยกันอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1เป็น สิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิดตามธรรมชาติซึ่งไม่อาจถูกพรากไปจากตัว มนุษย์ได้ ซึ่งทุกคนมีสิทธิในความอิสระที่จะสร้างสภาพแวดล้อมบุคลิกภาพของตัวเองโดยปราศจาก เงื่อนไขใดๆมาบังคับ แต่ทั้งนี้การใช้อิสระดังกล่าวก็จะไปกระทบต่อสิทธิของผู้อื่นไม่ได้เช่นกัน ส่วนที่ 2 สิทธิในความเสมอภาค หมายถึงบุคคลทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคมีสิทธิและเสรีภาพซึ่ง ได้รับจากสังคมเท่าเทียมกัน (พิณพลอย สุทินประภา, 2559) 2.5.2.3 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รับรองในรัฐธรรมนูญในประเทศไทย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญราชอาญา จักรไทย พุทธศักราช 2560 ใน มาตรา 4 ความว่า “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครองปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3