การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

47 จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศ ส่งผลให้เกิดการผูกพันในการที่รัฐต้องดูแลคุ้มครองเรื่องดังกล่าว โดยที่รัฐเองก็จะไปกระทำการใดที่จะไปละเมิดสิทธิดังกล่าว และในขณะเดียวกันรัฐเองก็ต้องดูแลไม่ให้มีการ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพกันเองของคนในชาติด้วย (อุดม รัฐอมฤต, 2558) จากแนวคิดและรัฐธรรมนูญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของปวงชนชาวไทยทุกคนหย่อมได้รับความคุ้มครอง รวมไปถึงนักเรียนนายสิบตำรวจซึ่งอยู่ใน ระหว่างการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรม ซึ่ งศูนย์ฝึกอบรมเป็นองค์กรที่ ใช้อำนาจในการฝึกอบรม โดยเฉพาะการฝึกทางด้านการฝึกภาคปฏิบัติในวิชาการตำรวจ การฝึกทางสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และจิตใจ ยุทธวิธี ซึ่งอาจไปกระทบต่อชีวิต ร่างกาย ในลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นผู้ทำหน้าที่ในการฝึก เช่น ครูฝึก หรือผู้ทำหน้าที่ปกครองนักเรียน ต้องปฏิบัติ ตามระเบียบเกี่ยวกับการฝึกอย่างเคร่งครัดจะกระทำเกินไปจากรูปแบบการฝึกที่กำหนดไว้ไม่ได้ หรือในกรณี ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนการใช้วิจารณญาณตัวเองก็ต้องคำนึงถึงขอบเขตของกฎหมายด้วย การใช้วิจารณญาณในการฝึกดังกล่าวเป็นกรณีที่รูปแบบการฝึกบ้างอย่างที่ไม่ กำหนดไว้อย่างชัดเจน การพิจารณาก็ต้องดูจากเจตนา ผู้กระทำเป็นหลัก หากเป็นเรื่องของการ ประสงค์ต่อผลหรือ หย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะไปละเมิดต่อกฎหมายหลีกเลี่ยงได้แต่ยังกระทำต่อไปผู้รับ การฝึกก็ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น งานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดรูปแบบ ขั้นตอนการฝึกที่อาจไปกระทบละเมิดต่อกฎหมายที่ไม่ยังไม่ได้กำหนดรูปแบบ ให้มีความชัดเจน มี ขอบเขตที่แน่นอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจให้มากที่สุด 2.6 แนวคิดหลักนิติธรรม การธำรงวินัยนักเรียนนายสิบตำรวจ คือการลงโทษอย่างหนึ่งเมื่อนักเรียนนายสิบตำรวจนั้นกระทำผิด ระเบียบของศูนย์ฝึกอบรมฯ ซึ่งระเบียบ ก็คือตัวกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ให้นักเรียนนายสิบตำรวจต้อง ปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้ปฏิบัติ ซึ่งระเบียบหรือกฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนควบคุมความประพฤติ ของคนในสังคมโดยมีลำดับขั้นตอนมาบังคับให้เป็นกิจจะลักษณะ โครงสร้างของกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติที่ สมบูรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน (สมยศ เชื้อไทย, 2562) คือ ส่วนที่แรก ส่วนของข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบของเหตุ หมายถึง เป็นส่วนของกฎหมายที่กำหนด กฎเกณฑ์หรือแบบแผนว่าการกระทำที่ถูก หรือผิด จากความประพฤติของบุคคลนั้นๆ ส่วนที่สอง เป็นผลของกฎหมาย หมายถึง เป็นส่วนที่เป็นผลจากกฎหมายมาบังคับบุคคลคนนั้นเมื่อได้ กระทำการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือแบบแผนของกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3