การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
48 ตัวอย่างเช่น ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” ผู้ใดฆ่าผู้อื่น (ส่วนที่ 1) ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี (ส่วนที่ 2) โครงสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนประกอบที่ทำให้กฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ ซึ่งหลักดังกล่าวนำมา พิจารณาไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญา แพ่ง กฎหมายอื่นๆ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนอาจจะไม่จำเป็นต้องบัญญัติในมาตรา หรือหมวดเดียวกันก็ได้ แต่ก็ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน (ขรรค์เพชร ชายทวีป, 2563) ดังนั้นหากกฎหมาย หรือระเบียบไม่มีทั้ง 2 ส่วน หรือขาดส่วนหนึ่งส่วนใดถือว่าไม่สมบูรณ์ ขาดความ ชัดเจน ผู้ใช้กฎหมาย หรือผู้บังคับบัญชาจึงไม่มีอำนาจในการบังคับใช้ตามหลักไม่มีกฎหมายไมมีอำนาจ และไม่ สอดคล้องกับระบบคุณธรรม (Merit system) ( ขรรค์เพชร ชายทวีป, 2563 ) ซึ่งมีแนวคิดที่สนับสนุนดังนี้ 2.6.1 ความหมายหลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) เป็นหลักแนวคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษซึ่ง เป็นประเทศที่ใช้กฎหมายระบบจารีตประเพณี (Common Law) โดยหลักดังกล่าวมีพัฒนาการมา ตั้งแต่ค.ศ. 1215 ซึ่งพระเจ้าจอห์น (King John) ซึ่งมีนักวิชาการนักปรัชญาให้ความหมายโดยการ อธิบายถึงหลักการดังกล่าวที่แตกต่างกัน แต่โดยลักษณะพื้นฐานของแนวคิดของหลักการดังกล่าว นักวิชาการ นักปรัชญา ก็จะให้ความหมายหรืออธิบาย ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมาย ความยุติธรรม เสรีภาพของประชาชนในรัฐ เหตุผลและศีลธรรม ความเสมอภาควกวนกันไปมา หรือ อาจจะกล่าวได้ว่าหลักนิติธรรมจะนำมาใช้ก็เพื่อเป็นหลักการที่นำมาใช้บังคับกับผู้ปกครองของรัฐในการ ใช้กฎหมายกับผู้อยู่ใต้อำนาจ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลในชาติเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2555) เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก เคยมีแนวคิดว่าการปกครองที่ดีที่สุด คือ การปกครองโดยราชา ปราชญ์ (Philosophi King) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีทั้งความเก่งและมีคุณธรรมปกครองบ้านเมืองด้วยความ ถูกต้องชอบธรรม แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถหาคนตามอุดมคติดังกล่าวมาเป็นราชาปราชญ์ได้ ช่วง บันปลายชีวิตจึงได้ค้นพบว่า “กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุด และการปกครองจะต้องดำเนินตามกฎหมาย หากสังคมสร้างระบบกฎหมายที่ดีและเป็นธรรมให้คนปฏิบัติตามกฎหมายได้ แม้แต่คนชั่วก็อาจ กลับมาทำความดีได้เช่นกัน” ซึ่งต่อมาอริสโตเติล (Aristotle,384-322) นักปราชญ์อีกท่านหนึ่งซึ่งเป็น ศิษย์เอกของเพลโตได้นำแนวความคิดของเพลโตมาขยายความต่อความว่า “การปกครองโดย กฎหมายเป็นสิ่งที่ควรพึ่งปรารถนามากกว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตามและการปกครองต้องเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (Rule of law implies every citizen is subject to the law) หรือ กล่าว อีกนัยหนึ่งเป็นแนวคิดในช่วงแรกของพัฒนาการของหลักนิติธรรม เป็นหลักการเพื่อเป็นการจำกัด อำนาจของกษัตริย์ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานมาจาก มนุษย์ไม่ควรถูกปกครองโดยมนุษย์ แต่ต้องถูกปกครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3