การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49 โดยกฎหมาย และผู้มีอำนาจปกครองจะใช้อำนาจเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ให้อำนาจ กระทำไว้ไม่ได้ นักนิติศาสตร์ชาวอังกฤษ Professor A.V. Dicey ได้ให้ความหมายของหลักนิติธรรมที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง, 2559) มี 3 ประการ ดังนี้ 1) “หลักนิติธรรม” คือหลักกฎหมายสูงสุด หมายถึง บุคคลจะถูกลงโทษต่อเมื่อการกระทำ นั้นมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษเอาไว้ก่อนหรือในขณะที่บุคคลนั้นได้กระทำ ความผิด โดยกระบวนการพิจารณาให้ต้องรับโทษตามความผิดต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมและ ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิพากษาว่าผู้นั้นกระทำความผิดถึงจะมีความผิด ผู้มีอำนาจทางปกครองจะลงโทษ ตามอำเภอใจหรือมีการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายเท่านั้น 2) “หลักนิติธรรม” คือหลักความเสมอภาคของกฎหมาย หมายถึง บุคคลทุกคนในประเทศ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีฐานะในสังคม หรือชาติกำเนิดที่แตกต่างกัน จะ เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ หรือเป็นประชาชนทั่วไปก็ไม่มีสิทธิพิเศษจากกฎหมาย หรือ ได้รับความคุ้มกันตามกฎหมายที่แตกต่างกัน หากมีการกระทำผิดกฎหมายกฎหมายในเรื่องเดียวกัน จะต้องถูกพิจารณาและถูกลงโทษโดยมาตรฐานทางกฎหมายอย่างเดียวกัน 3) “หลักนิติธรรม” คือหลักการมีสิทธิและเสรีภาพในความเป็นมนุษย์ หมายถึงบุคคลทุกคน ย่อมได้รับความคุ้มครองในสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันไม่ใช้เฉพาะตามรัฐธรรมนูญหรือตาม กฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิทธิและเสรีภาพตามจารีตประเพณี ศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย สรุปได้ว่าแนวคิดของ นักนิติศาสตร์ชาวอังกฤษ Professor A.V. Dicey ได้ให้ความสำคัญถึง ความสูงสุดของกฎหมายไม่มีผู้ใดอยู่เหนือกฎหมาย แม้แต่ผู้มีอำนาจใช้บังคับกฎหมายเองจะใช้อำนาจ ตามอำเภอใจและขัดต่อกฎหมายไม่ได้ รวมไปถึงการใช้อำนาจที่ไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของราษฎร โดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ก็อาจจะถูกฟ้องร้องคดียังศาลได้ เพราะไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล ข้าราชการ หรือประชาชน ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆที่อยู่นอกเหนือกฎหมายได้ ทั้งหมดคือหลักของหลักนิติธรรม (The Rule of Law) (ขรรค์เพชร ชายทวีป, 2563) นักวิชาการ นักปรัชญาทางด้านกฎหมายชาวอเมริกาและเคยเป็นอาจารย์กฎหมายที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ท ชื่อ Lon L.Fuller ได้อธิบายหลักนิติธรรมประกอบด้วยกัน 8 ข้อ 1) บุคคลทุกคน ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือองค์กรของรัฐเจ้าหน้าที่ ต้องปฏิบัติตาม กฎหมายที่บัญญัติขึ้นและมีสภาพบังคับใช้โดยทั่วกันไม่มีข้อยกเว้น 2) กฎหมายที่บัญญัติขึ้นต้องประกาศใช้อย่างเปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3