การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 3) กฎหมายที่บัญญัติขึ้นจะมีผลบังคับในอนาคตนับแต่เวลาที่ได้บัญญัติขึ้น ดังนั้นกฎหมายที่ บัญญัติขึ้นจึงไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังในอดีตที่ผ่านมา 4) กฎหมายที่บัญญัติต้องมีข้อความที่มีความชัดเจนไม่มีความคลุมเครือเพื่อหลีกเลี่ยงการหา ช่องว่างของกฎหมายในการนำกฎหมายมาบังคับใช้ในทางที่ไม่ชอบ 5) กฎหมายที่บัญญัติขึ้นต้องไม่มีความขัดแย้งด้วยกันเอง 6) กฎหมายที่บัญญัติต้องไม่ไปบังคับให้ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่สามรถทำให้เกิดขึ้นได้ 7) กฎหมายที่บัญญัติต้องมีรากฐานที่มั่นคงในสังคม แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยน แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมได้ตามสถานการณ์ 8) เมื่อมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการบังคับใช้ตามกฎหมาย จะต้องสอดคล้องกับ เนื้อหาที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายซึ่งได้ประกาศใช้ไว้เรียบร้อยแล้ว (อรรถพล ใหญ่สว่าง, 2557) นักวิชาการในประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ ได้ให้ความหมายของ หลักนิติธรรม (อนัญพร พูลนิติพร, 2558) ไว้ดังนี้ (1) กฎหมายจะต้องใช้บังคับเป็นการโดยทั่วไป หมายถึง หลักของความเสมอภาคในการใช้ บังคับกฎหมาย ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือองค์กรของ รัฐเจ้าหน้าที่เหมือนกัน ไม่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง (2) กฎหมายไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังในทางที่เป็นโทษ หมายถึง บุคคลใดที่จะรับโทษทาง กฎหมายอาญาก็ต่อเมื่อในขณะที่บุคคลนั้นกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำใน ขณะนั้นมีความผิดและมีโทษ หากไม่มีการกำหนดดังกล่าวบุคคลนั้นไม่ต้องรับโทษ หรือหากมีการ บัญญัติกฎหมายอาญามาภายหลังว่าการกระทำนั้นมีความผิดและมีโทษก็ถือว่าไม่มีความผิดและไม่ ต้องรับโทษเพราะได้มีการกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายอาญาบัญญัติความผิดและโทษ (3) ผู้ต้องหาในคดีอาญาให้ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามี ความผิด หมายถึง เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาใน กระบวนการยุติธรรม เพื่อจะให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือต่อสู้ คดีว่าตนได้กระทำผิดจริงหรือไม่เพียงใดตามที่ถูกกล่าวหา (4) ผู้พิพากษาที่มีอำนาจชี้ขาดตัดสินคดีต้องมีความเป็นอิสระและเป็นกลาง หมายถึง การ พิพากษาหรือมีคำสั่งตัดสินคดีซึ่งมีผลในการที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดของผู้พิพากษาจะต้องมีความ เป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การฝ่ายนิติบัญญัติ องค์การฝ่าย บริหารหรือแม้แต่องค์การฝ่ายตุลาการด้วยกันเอง และผู้พิพากษา ต้องมีความเป็นกลางไม่มีอคติใดๆ ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งตัดสินชี้ขาดคดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3