การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 (5) เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจเกินไปกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ หมายถึง เจ้าหน้าที่ ของรัฐใช้อำนาจได้เท่าที่ภายใต้กฎหมายให้ขอบเขตและอำนาจไว้เท่านั้น หลักการข้อนี้จะช่วย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการกระทำที่ละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (6) กฎหมายต้องไม่มีข้อยกเว้นกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในอนาคต หมายถึง มีการ บัญญัติกฎหมายว่าการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกิดขึ้นในอนาคตไม่มีความผิดนั้นกระทำไม่ได้ เป็น การป้องกันการวางแผนกลฉ้อฉลของผู้มีอำนาจในการที่จะออกกฎหมายเพื่อปกป้องการกระทำของ ตัวเองในอนาคต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือออกกฎหมายเพื่อลบล้างความผิดของตนในอดีตโดยใช้ อำนาจที่มีอยู่ (สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง, 2559) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ ความหมายเพียงว่า “หลักพื้นฐานของกฎหมาย”เท่านั้นแต่ไม่ได้อธิบายถึงรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร หลักกฎหมายพื้นฐานเป็นอย่างไร และต้องปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นไปตามหลักนิติธรรม (อรรถพล ใหญ่สว่าง, 2557) ส่วนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคสอง และ ล่าสุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 วรรคสอง เช่นกัน ได้กล่าวถึง “หลัก นิติธรรม”ไว้ในตัวบทบัญญัติก็ไม่ได้อธิบาย และให้นิยาม และบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนไว้อย่างแน่ชัด ต่อมาได้มี คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอ.นธ.)โดยการแต่งตั้งจาก รัฐบาล ได้มีการให้ความหมายของ “หลักนิติธรรม” หมายถึง หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย ซึ่งแม้แต่ กฎหมายใด กระบวนยุติธรรมใด หรือ การกระทำใดๆ จะไปฝ่าฝืน หรือขัดแย้งกับหลักนิติธรรมไม่ได้ (เขตไท ลังการ์พินธุ, 2558) โดยได้แบ่งหลักนิติธรรมออกเป็น 2 ประเภท 1. หลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด ได้แก่ 1) หลักความเป็นกลางและอิสระการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาและตุลาการ 2) กฎหมายต้องใช้บังคับโดยทั่วไป 3) กฎหมายต้องมีการประกาศให้ประชาชนได้รับทราบ 4) กฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายไม่ได้ 5) จำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญามีสิทธิในการต่อสู้คดีได้ 6) เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจนอกเหนือจากที่กฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ 7) จะบัญญัติกฎหมายยกเว้นความผิดเอาไว้สำหรับการกระทำที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นไม่ได้ 2. หลักนิติธรรมโดยทั่วไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3