การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
59 จากหลักการวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายสำหรับตำรวจดังกล่าว สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดวิธีการ หรือระเบียบในการ “ธำรงวินัย” หรือ “ปรับปรุงวินัย” จะมี ประโยชน์มากกว่าการให้ปฏิบัติท่าทางที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อนักเรียนนายสิบตำรวจ ทั้งยัง สามารถทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง และสร้างกล้ามเนื้อตามส่วนร่างกายที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ใน อนาคตอีกด้วย 2.8 กฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ 2.8.1 กฎหมายประเทศไทย 2.8.1.1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพ ได้กำหนดไว้ใน รั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (รั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจั กรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) เช่น มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน” มาตรา 5 วรรคแรก “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการ กระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ จากบทบัญญัติทั่วไป ตามาตรา 4 และ มาตรา 5 กฎหมายรัฐธรรมนูญ มุ่ง คุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ที่เป็นประชาชนในประเทศไทย ซึ่งนักเรียน นายสิบตำรวจก็ถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งในประเทศไทยซึ่งได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใดๆที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับไม่ได้ หมายความว่า หลักสูตร กฎหรือระเบียบที่ออกมาเพื่อฝึกอบรมนักเรียนนายสิบตำรวจจะขัดต่อรั ฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้ มาตรา 25 วรรคแรก “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติ คุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือใน กฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธ รรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของ รัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3