การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
64 บาดเจ็บเล็กน้อย หรือการพูดลักษณะ ดูหมิ่นซึ่งหน้า หมิ่นประมาท เพื่อใช้ในการสร้างสภาวะความ กดดันในการฝึกก็เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ตามจารีตประเพณีของการฝึกก็สามารถเป็นเหตุยกเว้น ความผิดได้ตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญา (โครงสร้างที่ 2 )ทั้งนี้การวินิจฉัยเรื่องของเจตนา หรือ พฤติการณ์ก็ต้องพิจารณาเป็นไปตามแต่ละกรณีไป 2.8.1.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขา เสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำ ละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อ นี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็น ผู้ ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็น ผู้กระทำ ละเมิดร่วมกันด้วย ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่า ต่าง ต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น จากบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับ ความละเมิดคือ การกระทำใด ๆที่เกิดจากบุคคล หรือการกระทำที่เกิดจากบุคคลที่อยู่ในความปกครอง ดูแล หรือความรับผิดชอบตามกฎหมายของอีกบุคคลหนึ่งซึ่งบุคคลที่ปกครอง ดูแล หรือรับผิดชอบนั้นนั้น ต้องร่วมรับผิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะ เป็นความเสียหายที่เกิดแก่ ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดตาม กฎหมาย ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน ค่าเสียหาย เยียวยา หรือให้ ผู้กระทำละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติแล้วแต่กรณี ต่อความเสียที่เกิดขึ้นแก่ ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมายนั้น หากการกระทำของครูฝึกนั้นมีลักษณะ เป็นการกระทำที่ไปละเมิดดังกล่าวผู้ได้รับความเสียหาย หรือผู้มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากการ กระทำละเมิดดังกล่าวได้แต่ก็ต้องเป็นการกระทำที่เกินจากสิทธิตามกฎหมายที่ให้ตามรัฐธรรมนูญ 2.8.1.4 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พุทธศักราช 2547 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พุทธศักราช 2547 เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาที่ เกี่ยวข้องกับข้าราชการตํารวจทั้งหมดโดยตรง เริ่มตั้งแต่เข้ารับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตํารวจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3