การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

65 จนออกจากการเป็นข้าราชการข้าราชการตํารวจ ยกตัวอย่างเช่น ว่าด้วยเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง การ กําหนดชั้นยศและตําแหน่ง เงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง เงินเพิ่มอื่น ว่าด้วยเรื่องวินัยข้าราชการ ตํารวจ การอุทธรณ์ร้องทุกข์ รวมไปถึงการแต่งเครื่องแบบตํารวจ เป็นต้น และเป็นเป็นกฎหมายที่ เกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ตํารวจ กำหนดโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยังเป็นกฎหมายที่จัดตั้งกองทุนเพื่อการ สืบสวนและสอบสวนคดีอาญา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในชั้นตำรวจอีกด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พุทธศักราช 2547 ประกอบด้วย 7 ลักษณะ 128 มาตราซึ่งมีในส่วนที่เกี่ยวกับงานวิจัย พอสังเขปดังนี้ (พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547, 2547) มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการตํารวจ” หมายความว่า บุคคลซึ่ง ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราช บัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวด เงินเดือนในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และให้ หมายความรวมถึงราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซึ่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตํารวจโดยได้ รับเงินเดือนจากส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย มาตรา 25 ชั้นข้าราชการตํารวจมีดังต่อไปนี้ (1) ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่ ผู้มียศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีขึ้นไป (2) ชั้นประทวน ได้แก่ผู้มียศสิบตํารวจตรี สิบตํารวจโท สิบตํารวจเอกจ่าสิบ ตํารวจ และดาบตํารวจ (3) ชั้นพลตํารวจ ได้แก่ พลตํารวจสํารอง พลตํารวจสํารอง คือ ผู้ที่ได้รับการบรรจุ เป็นข้าราชการตํารวจ โดยได้รับการ คัดเลือกหรือสอบแข่งขันเข้ารับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ มาตรา 50 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตํารวจชั้นพลตํารวจ ชั้น ประทวนและชั้นสัญญาบัตรให้ บรรจุจากบุคคลผู้ได้ รับคัดเลือกหรือสอบขางขันได้ หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.ตร. และให้ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอํานาจจากผู้บัญชาการ ตํารวจแห่งชาติเป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน มาตรา 68 อนุ 13 “ให้ข้าราชการตำรวจได้รับเงินเดือนดังต่อไปนี้ (13) ข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจสำรอง ให้ได้รับเงินเดือนระดับ พ.1” มาตรา 77 วรรคแรก “ข้าราชการตํารวจต้องถือและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีและจรรยาบรรณของตํารวจตามที่กําหนดในกฎ ก.ตร. และ ต้องรักษาวินัย ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3