การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

80 ฝึกอบรมในโรงเรียนที่ถูกพระราชบัญญัติอนุมัติ และต้องสำเร็จการฝึกอบรมดังกล่าวก่อนถึงจะได้รับ ตำแหน่งถาวรตามกฎหมาย ซึ่งการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ร่วมไปถึงการทดสอบทางด้าน ร่างกาย จิตใจ ความรู้ ตรวจสอบประวัติก็มีความคลายคลึงกับขั้นตอนการของการสอบเข้าศูนย์ ฝึกอบรมนายสิบตำรวจในประเทศไทย เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วก็ต้องไปฝึกอบรมในโรงเรียนตำรวจ อีกก่อนจะออกมาปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่ในส่วนสาระสำคัญของงานวิจัยการฝึกอบรมที่มีการธำรงวินัย ไม่ได้กล่าวไว้ในการฝึกอบรมหากฝึกไม่ผ่านครบตามจำนวนชั้วโมงก็หมายถึงไม่สำเร็จการศึกษา เมื่อไม่ สำเร็จการศึกษาก็ไม่สามารถบรรจุแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ส่วนการทดสอบทางด้านจิตใจก่อน เข้ารับการฝึกอบรมก็มีการตรวจโดยแพทย์ และจิตเวช ประเมินออกมาก่อนเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว ส่วนสภาพร่างกายก็จะประเมินจากการฝึกครบตามชั่วโมงและภาควิชาดังกล่าวข้างต้น ส่วนใน หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจการธำรงวินัยที่ถือว่าเป็นกุศโลบายในการฝึกความเข้มแข็งทางด้าน ร่างกายและจิตใจจะมาสร้างขึ้นและประเมินถึงความสามารถในการประกอบการทำงานเมื่อเข้ามาอยู่ ในระหว่างการฝึกอบรม 2. 9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการทบทวนวรรณกรรมไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาความเหมาะสมการ ธำรงวินัยใน หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยตรง ผู้วิจัยเลยนำงานวิจัยที่มีความ ใกล้เคียงทีสนับสนุนงานวิจัยดังนี้ นางสาวพิณพลอย สุทินประกา (2559) ได้ศึกษาเรื่องความยินยอมในทางอาญากรณีรับน้องที่ขัด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งศึกษาการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ของสถาบันการศึกษาต่างๆซึ่งในอดีตเป็น ประเพณีที่ดีงาม ซึ่งภายหลังเริ่มมีการนำระบบโซตัสเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรมรับน้อง รุ่นพี่เริ่มใช้ อำนาจเหนือรุ่นน้อง บังคับให้ทำตามคำสั่ง ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีการใช้ความรุนแรง ละเมิดสิทธิ เสรีภาพหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังที่พบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ จนได้รับผลกระทบกระเทือนทาง จิตใจอย่างร้ายแรง และในบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกายได้เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น แล้ว รุ่นพี่ผู้จัดกิจกรรมย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แต่เห็นได้ว่า ปัญหาการรับน้อง ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากผู้จัดกิจกรรมมักอ้างความยินยอมของรุ่นน้องที่เข้าร่วมกิจกรรมมา เป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด ทั้งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาสามารถลงโทษผู้กระทำ ความผิดได้ก็ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น จึงไม่มีผลเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความ เสียหาย ส่วนประกาศกระทรวงศึกษาธิการ หรือระเบียบของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่กำหนดมาตรการใน การควบคุมการจัดกิจกรรมรับน้อง หากฝ่าฝืนก็มีผลเพียงการลงโทษทางวินัยเท่านั้น ไม่มีสภาพบังคับ ทางอาญา ทำให้ปัญหาการรับน้องยังคงมีอยู่ในประเทศไทยจากการศึกษากฎหมายของประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3