การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
81 สหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส พบว่ามีการกำหนดให้การจัดกิจกรรมรับน้องที่ใช้ความรุนแรงหรือ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการกระทำที่ต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งสามารถนำแนวทางมาใช้ ในการแก้ไขปัญหาความเสียหายที่เกิดจากการจัดกิจกรรมรับน้องได้ ผลงานวิจัยดังกล่าวจึงมีการ กำหนดขอบเขตของการอ้างความยินยอมในการปฏิเสธความรับผิด และบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุม การจัดกิจกรรมรับน้องให้อยู่ในขอบเขต เป็นไปตามประเพณีอันดีงาม และไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และได้อธิบายถึงความยินยอมที่ไปขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และเงื่อนไขที่ไม่สามารถอ้าง ความยินยอมทางอาญาเพื่อยกเว้นความผิดของรุ่นพี่ที่จัดกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ต้องรับโทษทาง อาญาตามกฎหมายต่อไป จากงานวิจัยดังกล่าวเป็นแนวทางในเรื่องของ “การธำรงวินัย” ที่มีผลในเรื่องของการใช้อำนาจ ของครูฝึกหากมีการใช้ความรุนแรงเกินขอบเขต ซึ่งไปละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และอ้างความยินยอมของนักเรียนนายสิบตำรวจมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด จึงต้องมี มาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากการธำรงวินัยก็ยังถือว่าเป็นการรักษาระเบียบวินัย ซึ่งมีความสำคัญในระบบของการฝึกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจถือว่าเป็น เครื่องมือในการรักษาวินัยอย่างหนึ่งซึ่งหากใช้ตามขอบเขตก็จะเกิดประโยชน์ต่อการฝึกอย่างมาก อีกทั้งการลงโทษทางวินัยในรูปแบบการธำรงวินัยยังไม่กำหนดชัดเจน จึงเป็นลักษณะของการกระทำ ไปตามประสบการณ์ของครูฝึกอย่างอิสระ ผลงานวิจัยจึงมีการกำหนดขอบเขตการธำรงวินัยขึ้นลงใน กฎ หรือระเบียบของศูนย์ฝึกอบรมขึ้นมา อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ (2556) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างระเบียบวินัยของทหารเกณฑ์ใน ระบบของการฝึกและการต่อต้านการฝึกของทหารเกณฑ์ ผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยวิธีวิทยาเชิงชาติพันธุ์ วรรณนา ผู้วิจัยได้สมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีดำเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยผลักดันให้ เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ของทหารเกณฑ์ ศึกษาในเรื่องของหลักการ ปกครองชีวญาณในกลุ่มทหารเกณฑ์ ศึกษาวิธีการจัดระเบียบวินัยในรูปแบบของการจัดระเบียบ ร่างกายแบบอำนาจในตนของทหารเกณฑ์ และศึกษารูปแบบการต่อต้านระเบียบวินัยที่เข้าไปจัดการ กับร่างกายของทหารเกณฑ์ ผลการศึกษา พบว่า การปกครองชีวญาณเกิดขึ้นกับทหาร เกณฑ์เกิดจาก ทหารเกณฑ์แต่ละนายยอมรับความรู้ชุดหนึ่งมาใส่ร่างกายที่สร้างระเบียบวินัยและการน้อมรับต่อการ ปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเงื่อนไขและการต่อรองจนกลายเป็นพฤตินิสัยติดตัวไปการปฏิบัติตามความรู้ ที่ตนยอมรับแล้วเกิดขึ้นเสมอแม้ว่าจะมีหรือไม่มีผู้ควบคุม แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วจนทหารเกณฑ์ ผู้รับการฝึกปฏิบัติจนร่างกายตอบรับโดยอัตโนมัติภายใต้จิตสำนึก ซึ่งการฝึกดังกล่าวนี้ทำให้มีผลเมื่อ เวลาออกไปปฏิบัติหน้าที่จริงเพราะบางสถานการณ์ต้องทำตามคำสั่งทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ร่างกายจะ ตอบรับเป็นลักษณะพฤตินิสัยติดตัวหรือที่เรียกว่าได้สถาปนา “ร่าง” ขึ้นมาใหม่ อันเป็น “ร่าง” ที่มี ระเบียบวินัยและพร้อมใช้งาน “เป็นทรัพย์สินทางชีวภาพ” ในสถานการณ์รบในทางทหาร โดยการฝึก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3