การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
89 กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เพียงเท่านี้อย่างชัดเจน คุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาพได้จริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับความสูญเสียที่ เกิดขึ้น เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายๆเหตุการณ์ที่ยังได้รับการคุ้มครองสิทธิ เยียวยา ฟื้นฟู อย่างไม่ครอบคลุมไม่ยุติธรรมกับการกระทาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นแกครอบครัว ญาติ พี่น้องของผู้ สูญหายแต่อย่างใด ทาให้ครอบครัว หรือญาติผู้ถูกบังคับให้สูญหายต้องทนทุกข์ทรมาน เดือดร้อน หรืออาจจะหมดหนทางทามาหากิน ขาดรายได้เหมือนอย่างที่เคยได้รับก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์การ บังคับสูญหายเกิดขึ้น ดังนั้นแม้รัฐจะมีการกาหนดกฎหมายเอาไว้แล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติปัญหาการ บังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความชัดเจน ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็งตามที่ได้มีการกาหนด เป็นลายลักอักษรเอาไว้ ผู้ที่กระทาความผิดไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายเนื่องจากมีการแทรกแซง และมีการเบี่ยงเบนการกระทาความผิดเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ ทาให้การคุ้มครองสิทธิเยียวยาความ เสียหายให้แก่ครอบครัวเหยื่อผู้สูญหายที่เกิดจากการกระทาของเจ้าที่ของรัฐหรือจากความเสียหายที่มี เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการกระทาความผิดก็ยังคงเป็นปัญหาและมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นว่าปัญหาการคุ้มครองสิทธิเยียวยาครอบครัวเหยื่อของผู้ถูก บังคับสูญหายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เป็นการกระทาที่มีความรุนแรงแก่ ประชาชนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อที่มีการสูญหายไป ส่งผลต่อครอบครัวหรือญาติพี่น้องลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการที่จะใช้ชีวิตในปัจจุบันเนื่องจากผู้ที่ได้มีการให้สัมภาษณ์บอกเล่าเหตุการณ์เป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้ที่สูญหายไปหรือมีการถูกอุ้มหายไปโดยเกิดจากผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ หรือผู้กระทา ความผิดเป็นประชาชนทั่วไปที่มีอิทธิพลในพื้นที่โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนช่วยปกปิดการ กระทาความผิดเหล่านั้น มีการกระทาอุ้มหายให้ผู้ที่สูญหายไปเป็นเสาหลักของครอบครัวในการหา รายได้มาใช้จ่ายภายในครอบครัว ในขณะที่ลูกยังเด็ก ยังต้องศึกษาเล่าเรียน และมีผู้ที่เป็นทั้งแม่ทั้ง ภรรยาทางานบ้านทุกอย่างในครอบครัวไม่ได้มีบทบาทในการหารายได้เข้ามาในครอบครัวแต่เป็นผู้ที่มี บทบาทในการใช้กาลังแรงงานในการดูแลลูกและสามีในชีวิตประจาวันให้เรียบร้อย ซึ่งผู้เป็นสามีเสา หลักในการหารายได้ให้ครอบครัวมีการถูกอุ้มหายไป ไร้ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทาความผิด ใน อดีตไร้ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายที่จะเข้ามาคุ้มครองสิทธิและเยียวยา ไร้ซึ่งผลการติดตามตัวสามีผู้ที่ หายไป แม้ปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญ หาย พุทธศักราช 2565 ได้มีการกาหนดกฎหมายในการนาตัวผู้ที่กระทาความผิดมาลงโทษเป็นการ เฉพาะเจาะจงแล้วก็ตาม การคุ้มครองสิทธิ การเยียวยาให้แก่ครอบครัวผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ขาดเสาหลัก ของครอบครัวในการหารายได้มาใช้ในครัวเรือนนั้นยังไม่จัดเจน ไม่ครอบคลุม ไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควรและเป็นเพียงการเยียวยาในเบื้องต้นสาหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้แม้ว่ามีการอ้างว่ามีการ อุ้มหายโดยเกิดจากเจ้าที่ของรัฐ สุดท้ายแล้วในทางปฏิบัติก็ไม่ได้มีการเข้าถึงพยานหลักฐานของการ กระทาความผิดนั้น ๆ จนในที่สุดไม่สามารถนาตัวผู้กระทาความผิดมาลงโทษได้ ได้แค่เยียวยาใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3