การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
90 เบื้องต้นเป็นตัวเงินเท่านั้น ในทางกลับกันถ้าสามีผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวยังมีชีวิตอยู่สามารถหา รายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากกว่า และมีระยะเวลาในการหารายได้ยาวนานกว่าเงินที่ได้รับจาก การเยียวยาจากรัฐที่ได้รับมาแล้วใช้จ่ายก็ย่อมหมดไป แต่ถ้าผู้เป็นสามียังอยู่สามารถทาให้เห็นได้ว่า สามารถมีเงินหรือรายได้เข้ามาได้ในทุก ๆวันเป็นระยะเวลายาวนั้น พร้อมทั้งความสุขทางด้านจิตใจ ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่รัฐไม่สามารถเยียวยาหรือตีราคาเป็นตัวเงินทดแทนกันได้ 4.2 รูปแบบในการเยียวยาครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหาย การบังคับบุคคลให้สูญหายมีรูปแบบการเยียวยาแก่ครอบครัวผู้เสียหายหรือครอบครัวของเหยื่อ ผู้ถูกบังคับให้สูญหายตามหลักกฎหมาย ซึ่งมีการวิเคราะห์ออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 4.2.1 รูปแบบการเยียวยาความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่า ทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 รูปแบบของการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมอาจกระทาได้ หลายรูปแบบ เช่น การจ่ายเงินเยียวยาความเสียหายหรือการเยียวยาโดยการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายในเรื่องอื่นที่จาเป็นเร่งด่วนในขณะดาเนินคดีหรือเพื่อให้ ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมสามารถกลับสู่วิถีชีวิตปกติได้โดยรูปแบบการฟื้นฟูสภาพจิตใจของ ผู้เสียหาย เช่น การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ การให้คาปรึกษาทางกฎหมายการดาเนินคดี ความต่าง ๆ เป็นต้น สาหรับการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและเหยื่ออาชญากรรมตาม พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มีแนวคิดที่มาจากปัญหาความรุนแรงของอาชญากรรมซึ่งผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม ยังไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจและทรัพย์สินเท่าที่ควร ที่ผ่านมาเริ่มมีการ ทบทวนระบบปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมซึ่งมีแนวโน้มการสร้างมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพของผู้กระทาผิดอาญาเป็นสาคัญ โดยสิ่งที่เริ่มมีการพิจารณาอย่างจริงจังคือการจัดให้รัฐมี มาตรการทางกฎหมายทางบริหารและทางสังคมสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายและเหยื่อ อาชญากรรมอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้กระทาผิด เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 245 บัญญัติรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่ง ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทาความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ กระทาความผิดนั้นและไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น จึงมีความจาเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อรองรับสิทธิดังกล่าวโดยแนวคิดที่สนับสนุนระบบเยียวยาความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3