การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
94 ช่วยเหลือทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ศพผู้ถูกบังคับสูญหาย นอกจากนี้ยังจัดให้มีส่วนด้านการ เยียวยาและชดเชยให้เหยื่อในรูปแบบของการจัดให้มีการเยียวยาช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและการ ฟื้นฟูทางจิตใจ จากรูปแบบในการเยียวยาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีเพียงการเยียวยาทางด้านการเงิน สาหรับการคุ้มครองสิทธิในเบื้องต้น หรือการเยียวยาโดยการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆที่จาเป็นเร่งด่วน หรือการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหายคือ การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ ในขณะที่วิธีการให้ ความช่วยเหลือของต่างประเทศนอกจากด้านการเงิน และการฟื้นฟูสภาพจิตใจแล้ว อาจจัดให้มี บริการช่วยเหลือจากหน่วยงานหรืออาสาสมัครหรือบางประเทศอาจให้ความช่วยเหลือโดยผ่าน โปรแกรมการให้ความช่วยเหลือซึ่งเป็นวิธีการที่แตกต่างกันออกไป และมีการดาเนินคดีความความ ปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินตลอดจนการดารงชีพในระหว่างที่ยังมีความเดือดร้อนหรือยัง ต้องดาเนินคดีความอยู่ ทั้งยังมีการคุ้มครองสิทธิและเยียวยาให้แก่ครอบครัวของผู้สูญหาย ครอบคลุม ถึงการเยียวยาช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ มีรูปแบบการกาหนดให้มีการยกเลิกนิรโทษกรรม มีการ จัดตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงการอุ้มหายและจัดให้มีการไต่สวนผู้ที่มีความเกี่ยวข้องหรือ กระทาผิดเกี่ยวกับการบังคับให้สูญหายเกิดขึ้นและมีการช่วยเหลือทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ ศพผู้ถูกบังคับสูญหาย มีการจัดตั้งคณะกรรมการค้นหาแห่งชาติ ศูนย์ทะเบียนคนหายแห่งชาติ แผนการค้นหาแห่งชาติ และจัดให้มีกลไกค้นหาเร่งด่วนเพื่อให้การค้นหาผู้สูญหายมีประสิทธิภาพและ ได้รับความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น มีการดูแลทางสุขภาพจากรัฐตามระบบประกันสังคมแก่ครอบครัวผู้สูญ หาย และมีการกาหนดให้มีการรับผิดในทางแพ่ง ภายใต้กฎหมายแพ่ง มีรูปแบบของการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมที่อาจจะ กระทาได้หลายรูปแบบในประเทศไทยนอกจาก การเยียวยาเป็นตัวเงินและฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น ให้ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาให้ความรู้หรือเสนอแนะเกี่ยวกับช่องทางหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการดาเนินคดีความที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ลดค่าใช้จ่าย ให้ความรู้หรือ เสนอแนะเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินตลอดจนการจัดหามาตรการในการ ดารงชีพของครอบครัว ญาติของเหยื่อผู้ถูกอุ้มหายให้สามารถตั้งตัวมีการดารงชีพที่มั่นคง สามารถอยู่ รอดในสังคมต่อไปเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดไปได้ และมีการเยียวยาเป็นตัวเงินโดยคานึงถึง ฐานะความเป็นอยู่ก่อนเหยื่อผู้สูญหายจะถูกอุ้มหายไปและหลังจากมีการถูกอุ้มหายไปว่าถ้าบุคคลนั้น หายไปจะส่งผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัวมากน้อยเพียงใดเป็นสาคัญ และให้มีความมั่นคงในการ ดารงชีพมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรมรวมทั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนา สวัสดิการสังคมเข้ามามีส่วน ร่วมกับประชาชนหรือครอบครัวผู้สูญหายหรือญาติในการกาหนดมาตรการการคุ้มครองสิทธิและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3