การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
95 เยียวยาที่สามารถทาให้ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายรู้สึกถึงการได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม เพียงพอ และยุติธรรมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวแล้ว และในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการคุ้มครอง สิทธิและเยียวยาผู้เสียหายครอบคลุมไปจนถึงสวัสดิการหรือประกันสังคมของทายาทเหยื่อ บุตร หรือ ผุ้สูงอายุเหมือนกับกฎหมายต่างประเทศแต่อย่างใด จะมีการมุ้งเน้นให้ผู้กระทาความผิดเยียวยาหรือ รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง 4.3 อานาจหน้าที่ในการเยียวยา ฟื้นฟู ครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหาย การบังคับบุคคลให้สูญหายที่เกิดขึ้นในสังคมจะต้องมีหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาท อานาจหน้าที่ ในการเยียว ฟื้นฟู ให้แก่ครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหาย โดยมีหน่วยงานตามหลักกฏหมายที่ เกี่ยวข้องวิเคราะห์ออกเป็น 2 หน่วยงาน ดังนี้ 4.3.1 วิเคราะห์หน่วยงานของภาครัฐ ประกาศไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้ บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ทาให้ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายยังคงมีความต้องการที่จะให้หน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบ และจัดให้มีนโยบายหรือระเบียบ มาตรการต่างๆในการคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของผู้เสียหายให้ชัดเจน และจัดให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาในรูปแบบหรือวิธีการที่ เหมาะสมคุ้มค่ากับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็นที่สาคัญ คือ 4.3.1.1 ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ จาเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 แนวทางการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมแบบบูรณาการเพื่อมุ่ง คุ้มครองสิทธิให้กับประชาชนทุกคนสาหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดย มีกระทรวงยุติธรรมได้จัดทาแนวทางการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมให้เป็นมาตรฐาน เดียวกันโดยรวบรวมแนวทางการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆใน 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม การที่ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาจาก ผู้กระทาความผิด การที่ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาจากหน่วยงานของรัฐ และการช่วยเหลือ เยียวยาโดยทางอื่น โดยจัดให้มีหน่วยงานหลักในการบูรณาการช่วยเหลือผู้เสียหายคือ สานักงาน ยุติธรรมจังหวัดของทุกพื้นที่มีการปฏิบัติเป็นมาตรการเดียวกัน ดังนี้ 1. บทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการติดตาม รวบรวมข้อมูล สถานการณ์จากสายด่วน จากศูนย์ดารงธรรม ศูนย์ยุติธรรมชุมชน หน่วยงานปกครองส่วนท้องที่และ ท้องถิ่นทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนรวมทั้งจากผู้เสียหายเอง ล้วนเป็นบทบาทหน้าที่ ของสานักงานยุติธรรมจังหวัดเป็นผู้ดูแล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3