การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
100 ความช่วยเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ไปขอรับความช่วยเหลือที่ “สานักงานกองทุนยุติธรรม”ใน กรณีจังหวัดอื่นๆ ให้ไปขอรับความช่วยเหลือที่ “สานักงานยุติธรรมจังหวัด” ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด (พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม, 2558) ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วพบว่า ปัจจุบันมีกองทุนแยกย่อยกันออกไปแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่ เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้ รับความคุ้มครองสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีกองทุนของสานักงานอัยการเข้ามามี บทบาทในการคุ้มครองสิทธิทางด้านกฎหมายให้แก่ประชาชนร่วมด้วย โดยจัดตั้งเป็นศูนย์อัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ตั้งอยู่ตามท้องถิ่น เทศบาลของแต่ละพื้นที่ โดย เป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน เป็นรายบุคคลหรือชุมชนท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งเกี่ยวกับการเคารพสิทธิและเสรีภาพ ของคนในชุมชน มีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยยกตัวอย่างกรณีขององค์ประกอบการบังคับสูญหายต่างจากการกระทาความผิด ฐานอื่น ๆ ทั่วไปในทางอาญา เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสาหรับการกระทาให้บุคคลสูญหาย คือ การบังคับบุคคลให้สูญหาย ได้แก่ การจับ ควบคุมตัว ลักพาตัว หรือวิธีการอื่นใดในการทาให้บุคคล สูญเสียอิสรภาพ กระทาโดยตัวแทนของรัฐ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยการอนุญาต การสนับสนุน หรือ การรู้เห็นเป็นใจจากรัฐ และรัฐปฏิเสธการกระทานั้น หรือโดยปกปิดชะตากรรม หรือสถานที่อยู่ของ บุคคลนั้น ทาให้บุคคลนั้นต้องตกอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย กรณีที่ 1 : นาย ก ผู้ชอบวิจารณ์การเมืองหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่ทราบชะตากรรม ภายหลังนาย ข ซึ่งเป็นคนขับรถออกมาสารภาพว่าเป็นคนฆ่าเพื่อเอาเงินสดพร้อมทรัพย์สินของนาย ก ไปทั้งหมด จากกรณีดังกล่าว ไม่เข้าข่ายการบังคับบุคคลให้สูญหาย เนื่องจากนาย ข คนขับรถเป็น คนฆ่า ไม่ใช่การกระทาโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เว้นแต่จะปรากฏว่า นาย ข คนขับรถได้กระทาไปโดยการ ยินยอม การสนับสนุน หรือ การรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อเจอศพแล้ว ก็ถือว่าการกระทา ความผิดฐานบังคับบุคคลให้สูญหายนั้นสิ้นสุดลง เนื่องจากการทราบชะตากรรมของนาย ก แล้ว กรณีที่ 2: ตารวจจับคนค้ายาเสพติดและควบคุมไปสอบปากคา ระหว่างการ สอบปากคามีการทาร้ายร่างกายเพื่อให้ได้ข้อมูลจนตาย ตารวจตัดสินใจนาศพไปถ่วงน้าเพื่อปกปิด ความผิด จากกรณีดังกล่าว เป็นการบังคับบุคคลให้สูญหาย การที่ตารวจจับผู้ต้องสงสัยมาไม่ว่า การจับกุมและควบคุมตัวนั้นจะมีอานาจตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อทาร้ายร่างกายจนตาย และภายหลัง ตารวจปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลหรือบอกความจริงแก่ญาติหรือครอบครัวว่าเกิดอะไรขึ้น กรณีก็ถือว่าเข้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3