การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
101 ตามนิยามการบังคับบุคคลให้สูญหาย แม้การกระทาของตารวจจะประกอบด้วยการกระทาความผิด อาญาหลายบทด้วยกัน เช่น ทาร้ายร่างกาย และ ปิดบังซ่อนเร้นศพ แต่เมื่อการกระทาทั้งหลายกระทา โดยเจ้าหน้าที่รัฐและมีการปฏิเสธที่จะเปิดเผยชะตากรรมของบุคคลที่หายไป จึงเป็นการบังคับบุคคล ให้สูญหาย ตามความหมายของอนุสัญญา และเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งแยกออกต่างหากจากความผิด อื่นๆ ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นได้ว่า การบังคับบุคคลให้สูญหายนั้น ผู้กระทาต้องเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐได้รู้เห็นเป็นใจ มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการกระทาความผิดนั้น ถ้าหาก ปรากฎว่าการบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดจากกระทาโดยบุคคลอื่นที่เป็นเอกชนด้วยกันเองมีการบังคับ ให้บุคคลสูญหายไป เช่น กลุ่มมาเฟีย กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หรือ ผู้ก่อการร้าย โดยที่รัฐไม่ได้มีส่วน เกี่ยวข้องในการกระทาความผิดร่วมด้วย กรณีก็จะไม่เข้านิยามของการบังคับให้สูญหายภายใต้ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ แต่ยังคง ลงโทษให้รับผิดหรือเป็นการกระทาความผิดฐานอื่น เช่น ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือ ความผิดฐานฆ่าคนตาย เป็นต้น และรัฐยังคงมี หน้าที่ต้องสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทาความผิดมาดาเนินคดีลงโทษตามความผิดฐานอื่น ๆที่ เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ในขณะที่การบังคับบุคคลให้สูญหาย อาจ เริ่มจากการจับ การควบคุมตัว การลักพาตัว หรือการกระทาอย่างอื่นที่ทาให้บุคคลนั้นต้องสูญเสีย อิสรภาพ ซึ่งไม่ว่าการกระทาในส่วนแรกจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าภายหลังรัฐปฏิเสธการกระทา นั้น หรือไม่ยอมให้ข้อมูลว่าบุคคลนั้นเป็นอยู่อย่างไร ก็อาจเข้าข่ายความหมายของการบังคับบุคคลให้ สูญหายตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูก บังคับได้ เมื่อทราบลักษณะของความผิดฐานบังคับบุคคลให้สูญหายแล้ว ก็จะเห็นความจาเป็นที่ ประเทศไทยควรมีกฎหมายที่กาหนดฐานความผิดเฉพาะสาหรับการบังคับบุคลให้สูญหาย เพราะฐาน ความผิดตามกฎหมายอาญาที่มีอยู่แล้วอย่างเช่น ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังก็มีโทษน้อยเกินไป หรือ ความผิดฐานฆ่าคนตาย ก็แทบเป็นไปไม่ได้ในการพิสูจน์ความผิดเพราะหาศพหรือหลักฐานว่า เสียชีวิตแล้วไม่พบ ลักษณะสาคัญอีกประการ ของการบังคับให้สูญหายนั้น คือ บุคคลต้องถูกบังคับให้ ต้องตกอยู่นอกความคุ้มครองของกฎหมาย หรือ ตกอยู่ในสถานะที่ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย ได้เลย ญาติหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นไม่อาจจัดการเรื่องทรัพย์สินได้ จนกว่าจะขอให้ศาลสั่งว่าเป็น “คน สาบสูญ” ซึ่งต้องรอให้หายไปครบห้าปี หรือถ้ามีเหตุการณ์พิเศษก็สองปี ซึ่งกว่าจะสั่งให้เป็นคน สาบสูญก็ต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร อีกทั้งผู้ที่กระทาความผิดไม่ได้มีการรับโทษทางอาญา และผู้เสียหายไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ไม่ได้รับการเยียวยาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็นเทียบเท่าระดับสากลตามที่ได้ลงนาม ไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3