การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
102 จากผลการวิจัยที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นทุกประเด็น ผู้วิจัยเห็นถึงความสาคัญของการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ทั้งข้อดี และข้อเสียของกฎหมายเพิ่มเติมขึ้น โดยที่ในอดีตการบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งเป็นการ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความหวาดกลัวต่อสังคมในวงกว้าง เป็นการกระทาอันโหดร้าย มี จุดประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่ปลอดภัย เพื่อหยุดยั้งการกระทาต่อทั้งบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญ หาย ชุมชมและสังคม การบังคับบุคคลให้สูญหายได้กลายเป็นปัญหาสาคัญของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเกิด มากขึ้นกับปัญหาภายใน โดยเฉพาะเพื่อกาจัดศัตรูทางการเมือง เมื่อมีผู้ถูกบังคับให้สูญหายเพิ่มมาก ขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน ส่งผลกระทบแก่ญาติ พี่น้อง สามีภรรยา บุพการี ซึ่งเป็นผู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ต้องทนทุกทรมานกับการสูญเสียอย่างไร้ร่องรอย ไม่ทราบชะตากรรมว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่อย่างไร ยากแก่การติดตาม ยากแก่การหาหลักฐานมาเอาผิดผู้กระทา อีกทั้งขาดมาตการทางกฎหมายที่จะเข้า มาช่วยเหลือ เยียวยา ตามกระบวนการยุติธรรม ทาให้ผู้สูญหายและครอบครัวเข้าไม่ถึงความยุติธรรม ไม่มีรูปแบบขั้นตอนการสอบสวนการหายตัวไปของผู้ที่คาดว่าถูกอุ้มหายในประเทศไทย อย่างเป็น อิสระ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ไม่มีมาตการสั่งพักงานเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอุ้ม หาย ตลอดจนนาตัวผู้ต้องสงสัยเข้าสู่การพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ไม่มีการกหนดให้การบังคับบุคคลให้ สูญหายเป็นความผิดทางอาญาอย่างชัดเจนตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้ลงนามไว้ใน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ มีการ ควบคุมตัวอย่างลับ ๆ หรือควบคุมตัวอย่างไม่เป็นทางการในทุกรูปแบบ และไม่มีการแจ้งที่อยู่และ ชะตากรรมของผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบุคคลใดที่กระทาไปโดยการให้อานาจ การ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจจากเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่มีหลักการรับประกันว่าผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิ มนุษยชนและครอบครัวจะได้รับการเยียวยาอย่างเต็มที่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อไม่มีการกาหนดให้กระทาการบังคับบุคลให้สูญหายเป็น ความผิดโดยเฉพาะ ส่งผลต่อการขาดมาตรการการคุ้มครองสิทธิผู้เสีย การเยียวยาผู้เสียหายรวมถึง ครอบครัวของเหยื่อผู้สูญหายด้วย อีกทั้งทาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทาผิด หรือมีส่วนร่วมในการ กระทาความผิดยังคงไร้ซึ่งการลงโทษหรือรับผิดในสิ่งที่ได้กระทาลงไป อย่างไรก็ดี เ มื่อมีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 บังคับใช้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ส่งผลดีแก่สังคมอย่างยิ่ง คือสิทธิของญาติหรือ ครอบครัวของเหยื่อผู้ถูกบังคับให้สูญหายเปลี่ยนแปลงไปทาให้สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และผู้ อยู่ในอุปการะทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามี สิทธิดาเนินคดีแทนผู้ถูกอุ้มหายไปได้ มีสิทธิทราบ ติดตาม ความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่อง มีสิทธิ ได้รับการช่วยเหลือจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญ หาย เช่น ดาเนินมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย ชดเชยและฟื้นฟูเยียวยาความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3