การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
103 เสียหายทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงให้คาแนะนาปรึกษาทางด้านการดาเนินคดีความตาม กระบวนการยุติธรรม อีกทั้งทาให้การบังคับการสูญหายเป็นการกระทาความผิดทางอาญา มีการ กาหนดบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทาความผิด เป็นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการ บังคับให้สูญหายที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานได้เป็นอย่างดีในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทา ให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเท่านั้น ยังคงส่งผลเสียหรือผลกระทบในทางสังคม คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ยังคงมีความก้ากึ่ง ไม่ชัดเจนจะแจ้งในบางมาตราตรง ตามเจตนารมณ์ที่ได้ลงนามไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ บังคับให้หายสาบสูญ เช่น นิยามความหมายคาว่า ผู้เสียหาย ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเพศทางเลือก ระดับสากล ในคดีความผิดฐานกระทาให้บุคคลสูญหาย กาหนดให้ผู้เสียหายตามพระราชบัญญัตินี้เป็น ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่มิได้มีการอธิบายหรือกาหนดว่ามีสิทธิใน การดาเนินคดีความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกับคดีอาญาอื่น ๆทั่วไป หรือไม่เพียงใด มีการหนดมาตรการฟื้นฟูและเยียวด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหายโดยคานึงถึงการ ทาให้กลับสู่สภาพเดิมเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งในส่วนเท่าที่จะเป็นไปได้นั้น ไม่ได้ระบุวิธีการ รูปแบบการ ฟื้นฟู เยียวยาอย่างชัดเจนว่าเป็นแบบใด เท่าไหร แบบไหนที่จะถือว่าเท่าที่จะเป็นไปได้ อีกทั้งมีการ กาหนดให้การช่วยเหลือเยียวยาทางด้านการเงิน ด้านจิตใจ รวมถึงฟื้นฟู ได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง ถือว่ายังคงมีการกาจัดสิทธิในเรื่องของงบประมาณ และไม่ได้มีการให้อานาจกรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีอานาจในการกาหนดมาตรการ นโยบายการคุ้มครองสิทธิด้านการเงิน ด้านจิตใจต่าง ๆอย่างเต็ม กาหนดไว้เพียงให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบงานธุรการของ คณะกรรมการและให้มีหน้าที่ อานาจ ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาการกระทาให้สูญหาย รวมรวบข้อมูลสถิติ บุคคลที่สูญหาย เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบังคับการสูญหายให้ประชาชนเข้าถึงการกระทาที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากให้อานาจแก่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการกาหนดนโยบาย มาตรการต่าง ๆ อาจจะ ทาให้มีมาตรการการช่วยเหลือ เยียวยาที่ชัดเจน เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองสิทธิของ ประชาชน ญาติ ครอบครัวเหยื่อผู้สูญหาย ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สมาชิกภายใน ครอบครัวต้องสูญหายไป อีกทั้งมีการออกพระราชกฤษฎีกาขอ เลื่อนการบั งคับ ใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่ง เป็นมาตรการสาระสาคัญแก่การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายด้วยกัน 4 มาตรา ได้แก่ มาตรา 22 เป็นมาต การคุ้มครองสิทธิในการควบคุมตัวที่จะต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3